สถานที่ตั้ง

จังหวัด เชียงใหม่ อำเภอ อำเภอจอมทอง ตำบล บ้านหลวง 73150

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดในบรรดาน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สายน้ำจากลำห้วยแม่ยะตกจากหน้าผาสูงชันไหลลงมา มีประมาณ 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 280 เมตร ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร เหมือนกับม่านน้ำ แล้วไหลลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง และบางช่วงของหน้าผาเป็นชะง่อนหิน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วยหินประเภท หินแกรนิต

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ลักษณะภูมิประเทศ เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันซึ่งมีชั้นหิน และชะง่อนหินสลับซับซ้อนทำให้เกิดชั้นของน้ำตกถึงประมาณ 30 ชั้น ซึ่งมีต้น    กำเนิดจากลำห้วยแม่ยะ อยู่ทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 
  • น้ำ มีน้ำมากในช่วงหน้าฝน และในช่วงฤดูแล้งน้ำใสแต่มีน้ำน้อย
  • ขยะ พบเห็นขยะในเส้นทางเล็กน้อย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

  • พืชพรรณ ลักษณะพืชพรรณเป็นป่าเบญจพรรณ มีพันธ์ไม้สำคัญได้แก่ สัก แดง ประดู่ เป็นต้น
  • สัตว์ป่า สัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นเขตที่ตั้งของน้ำตกแม่ยะนี้มีค่อนข้างน้อย ปัจจุบันที่อาจพบเห็นได้ มีดังนี้ ได้แก่ เลียงผา กวางผา กวาง หมูป่า เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและการศึกษาวิจัยในพื้นที่

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        ร้านค้าสวัสดิการ ลานจอดรถหินบดรองรับรถได้ประมาณ 50 คัน และห้องน้ำไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีข้อมูล -