สถานที่ตั้ง

จังหวัด กาฬสินธุ์ อำเภอ อำเภอกุฉินารายณ์ ตำบล กุดหว้า 46110

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

- เป็นลานหินที่มีลักษณะตะปุ่มตะปั่ม แปลกตา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่สวยงาม มีนักท่องเที่ยวเดินทางศึกษาธรรมชาติ นิยมแวะพักชมทัศนียภาพ

- เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยา มีความโดดเด่นที่มีแค่ไม่กี่แห่งในประเทศไทย เป็นลานหินปุ่มหินแตกที่มีบริเวณกว้างมาก สวยงามมาก 

ตำนานความเชื่อ

บริเวณลานหินปุ่มมีตำนานที่ชาวบ้านเล่ากันว่า ลักษณะหินปุ่มเกิดจากร่องรอยของพญานาคที่สู้รบกันระหว่าง สุโนนาค กับ นันทะนาค ทั้งนี้เพื่อแย่งชิงปลาบึกจากพระอินทร์ การต่อสู้ยาวนานถึง 7 ปี ในที่สุดสุโทนาคเป็นฝ่ายชนะและได้บำเพ็ญเพียรที่ถ้ำภูผาผึ้ง ปัจจุบันเรียกถ้ำพระยานาค เมื่อบำเพ็ญเพียรเสร็จแล้วจึงเหาะไปรับปลาบึกจากพระอินทร์บนสวรรค์แล้วนำกลับมาปล่อยในแม่น้ำโขง จึงทำให้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแห่งเดียวในโลกที่มีปลาบึก ซึ่งสุโทนาคเป็นผู้สร้างแม่น้ำโขง แล้วนันทะนาคเป็นผู้สร้างแม่น้ำน่านในเวลาต่อมา บริเวณลานหินปุ่มยังเป็นจุดชมวิวภูน้อยและจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามเป็นอย่างมาก

ประเภทการใช้ประโยชน์

- ท่องเที่ยว ศึกษาความเป็นธรรมชาติ และศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยา

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -