สถานที่ตั้ง

จังหวัด ยโสธร อำเภอ อำเภอเมืองยโสธร ตำบล หนองหิน 35000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

แหล่งน้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

- กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนเสมอในวันหยุด 

- แหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรของประชาชน

ตำนานความเชื่อ

กุดกะเหลิบ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ได้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่เสมอๆ ประวัติกุดกะเหลิบ ชื่อเดิม 1. กุดกะเดิบ 2. กุดแตกเขิบ 3. กุดกะเหลิบ พื้นที่บริเวณกุดกะเหลิบ 18,750 ไร่ 1. สาเหตุที่ได้ชื่อว่ากุดกะเดิบ เพราะในกาลครั้งนั้นป่าดงพงพีอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ต่างๆ นายพรานคนหนึ่งชื่อนายสา พร้อมด้วยทีมงานอีก ได้ออกล่ากวางหนุ่มตัวหนึ่งจากทางทิศใต้กุดกะเหลิบ พรานสาได้ยิงกวางแต่ไม่ถูกกวางหนีตายวิ่งไปทางทิศเหนือ โดยผ่านกุดกะเหลิบไปทางทิศเหนือคือที่ตั้งบ้านโนนค้อ พรานสาเลยสั่งให้พรานอีก 4 คน ไปดักรอทางทิศเหนือ นายพรานสามองเห็นกวางวิ่งผ่านหนองน้ำ กะเดิบกะเดิบไปแล้ว เลยร้องตะโกนบอกเพื่อนนายพรานว่า วิ่งกะเดิบกะเดิบไปแล้ว คนรุ่นต่อมาเลยเรียกแหล่งน้ำแห่งนี้ว่า กุดกะเดิบมาจากกวางวิ่ง 2. สาเหตุที่ได้ช่อว่า กุดแตกเขิบ เพราะนายทาได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ทางทิศใต้ของกุดกะเหลิบได้ทำนาอยู่ในที่หนองพอหน้าแล้งน้ำแห้งหมดดินก็แตกเป็นแผ่นๆ คนบริเวณบ้านดงมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้หนองแห่งนี้ ได้ใช้เสียมหรือท่อนไม้งัดเอาแล้วเก็บเอาเขียดหรือกบมาเป็นอาหารคนรุ่นต่อมาเลยเรียกว่ากุดแตกเขิบ 3. กุดกะเหลิบสาเหตุที่ได้ชื่อว่า กุดกะเหลิบนายทาซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถหาหยูกยามารักษาโรคเรื้อน(ขี้ทูต) ชาวบ้านดงมันเกิดล้มตามกันมากเข้ามากเข้า นายมัง พันธ์ดวงก็เลยพาเพื่อนๆ อพยพมาตั้งบ้านใหม่ที่บ้านโนนค้อปัจจุบัน นายมัย นายทา มาตั้งที่บ้านโนนค้อเห็นว่าเป็นโนนบ้านที่สูง ซึ่งปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม อีกส่วนหนึ่งก็ขยายไปทางบ้านโนนสวาทปัจจุบัน

ประเภทการใช้ประโยชน์

-ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมกับชุมชนในพื้นที่

- เป็นสวนสาธารณะ

- ชาวบ้านจับสัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงชีพ

ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทแหล่งน้ำ
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -