สถานที่ตั้ง

จังหวัด แม่ฮ่องสอน อำเภอ อำเภอปาย ตำบล ทุ่งยาว 58130

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

กองแลน เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการยุบตัวของดินที่อยู่ตามหุบเขา จนเป็นทางเส้นเล็ก ๆ บนสันเขา ( มีลักษณะเป็นผืนดินที่ถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผา ติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง ประมาณ 5 ไร่เศษ)

ตำนานความเชื่อ

ที่มาของชื่อ กองแลน" หมายถึง ถนนของตัวตะกวดใช้สัญจรบนเส้นทางเล็ก ๆ บนเหวลึก กอง เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่าถนน ใช้สัญจรไปมา แลน หรือตะกวด เป็นชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ตัวลาย ลักษณะเหมือนตัวเงิน ตัวทอง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นชั้นตะกอนกรวดทรายที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหินสะสมอยู่บริเวณแอ่งสะสมตะกอนปาย ต่อมาได้รับอิทธิพลจากธรณีแปรสัณฐาน ทำให้ชั้นตะกอนดังกล่าวถูกดันขึ้นมาเป็นเนินลอนชัน ภายหลังถูกกัดเซาะจากน้ำฝนจนเว้าแหว่งเป็นรูปร่างแปลกตาคล้ายแพะเมืองผี

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ภูมิทัศน์มีความเป็นธรรมชาติไม่มีการดัดแปลงมากนัก โดยรอบสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงาม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ เป็นป่าเต็งรัง

สัตว์ป่า นก

ประเภทการใช้ประโยชน์

การท่องเที่ยว นันทนาการ

กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักคือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

- การเข้าถึงสะดวก ส่วนบริการด้านหน้าที่ติดถนนมีสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบอยู่ร่วมกันจึงทำให้ดูไม่กลมกลืนกัน

- ส่วนบริเวณแหล่งธรณี มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกกลมกลืนกับธรรมชาติได้ดี เช่นสะพานไม้

- มีสะพานข้ามแต่ไม่ครอบคลุมทุกจุด จึงทำให้บางจุดค่อนข้างอันตรายต่อการปีนป่าย

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -