สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุตรดิตถ์ อำเภอ อำเภอทองแสนขัน ตำบล น้ำพี้ 53230

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นบ่อเหล็กกล้ามีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนมีอยู่ 2 บ่อ คือ "บ่อพระแสง" และ "บ่อพระขรรค์" โดย บ่อพระแสงจะเป็นบ่อที่มีเนื้อเหล็กดีที่สุดกว่าบ่ออื่นๆ ในสมัยโบราณ นายช่างผู้สร้างพระแสงดาบถวายพระมหากษัตริย์ จะนำเอาเหล็กน้ำพี้ที่บริเวณบ่อพระแสงไปถลุงทำพระแสงดาบ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า "บ่อพระแสง" ส่วนบ่อ พระขรรค์ เข้าใจว่า เป็นบ่อที่นำเหล็กมาจากบริเวณนี้สงวนไว้ใช้ในการทำพระแสงดาบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น เหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง และมีความศักดิ์สิทธิ์ มีความอาถรรพ์ในตัว โดยจัดอยูในโลหะธาตุตระกูลเดียวกับเหล็กไหล

ตำนานความเชื่อ

เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กที่มีความแกร่ง มีความเหนียวและเกิดสนิมยาก จากตำราพิชัยสงครามได้กล่าวไว้ว่า เหล็กน้ำพี้เป็นโลหะมหัศจรรย์อานุภาพ มีพลังในตัว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ทุก ๆ อณูสามารถป้องกันคุณไสยและสิ่งเลวร้ายที่มองไม่เห็นด้วยตาดำได้ ปัจจุบันแร่เหล็กน้ำพี้ ถือว่าเป็นวัตถุมงคล โดยเชื่อกันมาแต่โบราณว่าเหล็กน้ำพี้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเหล็กไหล เมื่อจะนำไปใช้งานต้องตั้งศาลบวงสรวงขออนุญาตจากเจ้าพ่อที่ดูแลปกปักษ์รักษาเสียก่อน จึงจะทำการขุดหรือตัดเหล็กไปใช้งานได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวน้ำพี้และผู้ศรัทธาต่างเชื่อถือกันมาโดยตลอดด้วยความศรัทธาว่า เหล็กน้ำพี้มีเจ้าพ่อปกปักษ์รักษาดูแลอยู่ หากผู้ใดจักนำสินแร่เหล็กน้ำพี้ไปใช้ ต้องทำการตั้งศาลบรวงสรวงสักการะและเปล่งวาจาขอต่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ก่อน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

เป็นแหล่งแร่เหล็กที่พบบริเวณที่ราบต่อเนื่องกับเนินดินเตี้ยๆ ส่วนบนเป็นชั้นที่มีการสะสมของแร่เหล็กปิดทับอยู่บนชั้นกรวด ซึ่งรองรับด้วยหินดินดานที่สลายตัวอยู่กับที่ หินดินดานดังกล่าวมีสีเทา สีน้ำตาลอมเขียว คาดว่าเกิดจากการสะสมตะกอนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ภูมิทัศน์จากจุดจอดรถไป เป็นการตกแต่งจัดสวนสวยงาม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ ใช้พืชสวนตกแต่งบริเวณโดยรอบ

ประเภทการใช้ประโยชน์

กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักคือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

- มีการปรับปรุงภูมิทัศน์จนหลงเหลือสภาพธรรมชาติน้อย การใช้วัสดุธรรมชาติมีน้อย

- สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกมีการบำรุงรักษาสม่ำเสมอ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -