สถานที่ตั้ง

จังหวัด สกลนคร อำเภอ อำเภอพรรณานิคม ตำบล นาหัวบ่อ 47220

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        ยอดเขาที่เรียกว่า "ดอยคูหาหรือดอยเพ็ก" มีบาราย 2 แห่ง นับเป็นศาสนาสถานทีสำคัญ ถ้าปราสาทพนมรุ้ง เป็นศาสนาสถานขนาดใหญ่ของอีสานใต้ที่อยู่บนเทือกเขา ปราสาทพระธาตุภูเพ็กก็จัดว่าเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่บนภูเขาหลังเดียวของอีสานเหนือ ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยหินแกรนิต เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตอนหน้าของปราสาท มีฐานหินเป็นก้อนเรียงซ้อน ๆ กัน ยื่นออกคล้ายกากบาทสูงกว่าฐานของเรือนฐานเล็กน้อย ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านย่อมุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม รวมเป็น 20 เหลี่ยม ความกว้างของปราสาทโดยรอบกว้างด้านละ 11 เมตร มีชานเป็นพื้นที่กว้างพอสมควร ความสูงจากพื้นดินถึงฐานชั้นที่ 1 สูง 1.58 เมตร จากฐานชั้นที่ 1 ถึงฐานชั้นที่ 2 สูง 0.70 เมตร ตัวเรือนปราสาททั้ง 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก ความเชื่อตามตำนานอุรังคธาตุ

ตำนานความเชื่อ

        คนโบราณจำนวนมากเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวพันกับพุทธศาสนามาโดยตลอดถึง 4 ช่วงสมัย สมัยที่ 1 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาบริเวณที่เรียกว่า "ดอยแท่น" หลังจากที่ได้ทรงเทศนาธรรมแก่พระสุวรรณภิงคารแล้ว สมัยที่ 2 หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วบรรดาชาวเมืองหนองหานหลวง และเมืองหนองหานน้อยก่ออุโมงแข่งขันกัน อุโมงเมืองหนองหานน้อย คือ องค์พระธาตุภูเพ็กแห่งนี้ สมัยที่ 3 พระมหากัสสัปะนำพระอรหันต์ 500 รูป ได้นำอุรังคธาตุประดิษฐานที่ดอยแท่นก่อนแยกย้ายไปบิณฑบาต ในเมืองหนองหานหลวง หนองหานน้อย และสมัยที่ 4 คือ สมัยหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปได้ 500 ปี ท้าวพระยาและฤาษี 2 ตน คือ อมรฤาษีและโบธิกฤาษี ได้นำก้อนหินที่ดอยแท่นไปร่วมปฏิสังขรณ์พระธาตุ พนมดอยภูกำพร้า ความเชื่อดังกล่าว ทำให้เกิดการเชื่อมโยง อธิบายสถานที่สำคัญ ๆ เช่น
        1. แค้นแท้ เป็นบริเวณลานหินขนาดกว้างอยู่ห่างจากตัวปราสาท ไปทางทิศตะวันตกสุดขอบไหล่เขาที่ ตั้งตัวปราสาท บริเวณแห่งนี้มีทั้งก้อนหิน ที่ถูกเครื่องมือโบราณสกัดขาดแล้วเป็นก้อนขนาดใหญ่รอการเคลื่อนย้าย และที่อยู่ระหว่างสกัดเห็นเป็นร่อง ๆ จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าช่างผู้สร้างปราสาทแห่งนี้มิได้นำก้อนหินมาจากเชิงเขาแต่อย่างใด แต่หากสกัดหินจากยอดเขาแห่งนี้ด้วยความพยายาม ที่เรียกบริเวณนี้ว่า "แค้นแท้" เพราะผู้สกัดหินถูกเพื่อน ๆ หลอกลวงว่าอุโมงของสตรีที่หนองหานหลวงสร้างเสร็จแล้ว ดาวเพ็กขึ้น แล้วให้วางมือจากการก่อสร้าง ต่อเมื่อรู้ว่าเสียรู้สตรีจึงมีแต่ความแค้นในอก
        2. ลานเพ็กมุสา เป็นลานหินเล็ก ๆ อยู่เชิงเขาไม่ห่างจากบันไดทางขวามือ หรืออยู่ทางทิศเหนือของ สระแก้ว บริเวณนี้เชื่อว่า บรรดาชายหนุ่มเห็นดาวเพ็ก ที่ฝ่ายหญิงประดิษฐ์เป็นโคมไฟชักขึ้นไว้เหนือยอดไม้ คล้ายดาวประกายพฤกษ์เช้ามืดที่ขึ้นขอบฟ้า
        3. สระแก้ว มีอยู่ 2 แห่ง คือสระที่อยู่ด้านทิศเหนือห่างจากพระธาตุหรืออาคารปราสาท 16 เมตร อยู่ ติดกับบริเวณลานหลังเขา 2 เมตร สระอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท 30 เมตร สระทั้งสองแห่งกว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร น้ำในสระแก้วทิศเหนือไม่แห้ง ถือว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในบริเวณยอดภูเพ็กยังมีถ้ำต่าง ๆ อีกหลายแห่งเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเผชิญภัย เช่น ถ้ำพลวง ถ้ำเปือย ถ้ำกบงา ถ้ำซาววา ถ้ำเยือง เป็นต้น

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        บริเวณปราสาทภูเพ็ก ซึ่งอยู่บนยอดเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ปรากฎแท่นหินทราย ขนาด 56 X 56 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร ด้านบนมีการแกะสลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงรอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตจำนวน 16 ช่อง ใช้ตามติดตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จากทิศทางของแสง จะได้ทราบฤดูกาลและกำหนดเวลาทำการเกษตร ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นหินทรายหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียส ซึ่งประกอบด้วยหินตะกอนประเภทหินทรายเป็นส่วนใหญ่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

       ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนภูเขาสูง การเข้าถึงต้องเดินขึ้นบันไดไปเท่านั้น สภาพทางกายภาพโดยรอบภูเขาเป็นป่า สิ่งก่อสร้างของวัดขาดการดูแลรักษาทำให้อาคารเสื่อมโทรม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นป่า รอบภูเขา
        สัตว์ป่า จะพบนกบางชนิด

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การท่องเที่ยว และนันทนาการ นักท่องเที่ยวขึ้นไปสักการบูชาพระธาตุ            กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักคือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        บริเวณปราสาทหินภูเพ็กตั้งอยู่บนเนินเขาซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของพื้นที่เกษตรกรรม ด้านหลังปราสาทมีกุฏิร้างของวัดหลายหลัง พื้นที่ยังเป็นธรรมชาติอยู่มาก

โครงการพัฒนา

        โครงการพัฒนาอาคารและสิ่งก่อสร้างของวัดพระธาตุภูเพ็ก

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -