สถานที่ตั้ง

จังหวัด กาฬสินธุ์ อำเภอ อำเภอนาคู ตำบล ภูแล่นช้าง 46160

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        รอยตีนไดโนเสาร์เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่บอกถึงการปรากฏตัวบนโลกของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่เราเรียกว่าไดโนเสาร์ เป็นเครื่องยืนยันถึงการมีตัวตนของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เคยเดินท่อมๆ หากินอยู่ตามพื้นทรายชุ่มน้ำตามขอบชายบึงหรือแม่น้ำในช่วงเวลาประมาณ 140 ล้านปีมาแล้ว รอยตีนทั้งหมด ปรากฏให้เห็นเป็นรอยทางเดิน 3 แนว คือ แนวที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 7 รอย แนวทางเดินที่มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมุม 60 องศา จำนวน 2 รอย และแนวทางเดินที่มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุม 37 องศา จำนวน 3 รอย รอยตีนทั้งหมดเป็นรอยเท้าที่มีนิ้ว 3 นิ้ว ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ระยะก้าว 120 และ 110 เซนติเมตร เป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีความสูงถึงสะโพกมากกว่า 2 เมตร ก้าวเดินไปอย่างช้าๆ (Buffetaut et al., 1997 New dinosaur discoveries in the Jurassic and Cretaceous of northeastern Thailand. The international Conference on Stratigraphy and Tectonic Evalution of Southeast Asia and South Pacific, Bangkok, Thailand.)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        รอยตีนฝังอยู่ในผิวหน้าชั้นหินทรายของหมวดหินพระวิหาร ในอดีตบริเวณนี้มีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำที่ไดโนเสาร์เดินผ่านหรือเที่ยวหากิน รอยตีนที่เกิดขึ้นไม่ถูกซัดให้ลบเลือนไป โดยอาจโผล่พ้นน้ำทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พาตะกอนมาปิดทับเป็นชั้นตะกอนใหม่ และชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหินรอยเท้าจึงปรากฏอยู่ในหินนั้น ปัจจุบันธรรมชาติได้ทำลายที่ปิดทับออกไป เผยใหแห็นรอยตีนไดโนเสาร์

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        รอยตีนไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหินกลางลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่านในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง บริเวณโดยรอบจะเป็นป่าเต็งรัง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นป่า โดยรอบ
        สัตว์ป่า จะพบนกบางชนิด

ประเภทการใช้ประโยชน์

      การท่องเที่ยว และนันทนาการ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        สภาพภูมิทัศน์โดยรอบยังเป็นธรรมชาติอยู่มาก กำหนดเส้นทางเดินโดยการใช้ก้อนหินเรียงขนานกับเส้นทางเดิน

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -