สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุบลราชธานี อำเภอ อำเภอโขงเจียม ตำบล นาโพธิ์กลาง 34220

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เสาเฉลียงคู่ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ สายลม แสงแดด ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้นมีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางไม่ติดกันมองดูคล้ายดอกเห็ด ตั้งคู่กันบนเนินหินทราย ชาวท้องถิ่นเรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียงคู่” และตรงเนินเสาเฉลียงคู่นี้ยังเป็นจุดที่ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่งของพื้นที่ป่าดงนาทามอีกด้วย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ลักษณะทางธรณีวิทยาประกอบด้วยหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุคครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทรายยุคจูแรสซิก มีอายุประมาณ 180 ล้านปี เป็นส่วนต้นเสา เสาหินท่อนล่างผ่านการถูกชะล้างพังทลายเกิดจากน้ำฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ทำให้หินทรายบางส่วนที่สึกกร่อนง่ายถูกชะล้างพังทลายไปเหลือเพียงต้นเสา ส่วนบนที่มีความแข็งแรงสูงกว่าถูกกัดชะพังทลายยากกว่าจึงเหลือคงรูปร่างแผ่นหินที่ปิดทับบนเสาหิน เรียกว่า "เสาเฉลียง" แผลงมาจาก "สะเลียง" แปลว่า "เสาหิน"

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        แท่งหินทรายขนาดใหญ่ 2 แท่งเกิดอยู่บนลานหินกลางป่าเต็งรังแคระ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของป่าดงทานามภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ซึ่งเป็นประติมากรรมจากธรรมชาติ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ มีอายุมากกว่าล้านปี โดยตัวเสามีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดยักษ์ สูงประมาณตึก 2 ชั้น จึงเป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจทางธรณีวิทยาและยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก   บริเวณรอบข้างเป็น ป่าเต็งรังแคระและทุ่งหญ้า

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -