สถานที่ตั้ง

จังหวัด เชียงใหม่ อำเภอ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตำบล ช้างเผือก 50300

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ดอยปุย มีสภาพพื้นที่เป็นป่าสนเขา ที่มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพรรณและนก เหมาะกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการดูนก รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่บริเวณนั้น ได้แก่ พระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนัก นอกจากนั้นยังมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติและลานกางเต๊นท์

ตำนานความเชื่อ

-

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

-

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ธรณีวิทยา    ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยทั่วไปประกอบด้วย หินอัคนี ชนิดที่สำคัญได้แก่ หินแกรนิต นอกจากี้ยังมีหินชั้นและหินแปร 
ลักษณะภูมิประเทศ
ดอยปุยเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ มีลักษณะของพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารลำห้วย เช่น ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยแม่ปาน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ดิน    สภาพพื้นที่มีความลาดชันตั้งแต่ 35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ประกอบไปด้วยดินหลายชนิด มีทั้งดินลึกและดินตื้น บางแห่งมีก้อนกรวดและก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือกระจัดกระจายอยู่ตามผิวดิน มีการระบายน้ำดี จนถึงมีการระบายน้ำมากเกินไป ลักษณะเนื้อดิน สีของดิน และปฏิกิริยาดินแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดหินที่เป็นต้น
น้ำ    เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบ ๆ 
ขยะ    ขยะส่วนมากมาจากการท่องเที่ยวและมีบางส่วนที่มาจากชุมชนเพราะเป็นยอดดอยที่มีชุมชนชาวไทยภูเขาอยู่บริเวณนั้น การจัดการขยะบางส่วนเป็นการจัดการระดับชุมชนและบางส่วนเป็นการจัดการของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ภูมิทัศน์    สภาพภูมิทัศน์โดยรอบยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก แต่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เช่นกัน เนื่องมาจากเป็นพื้นที่ที่มีชุมชนตั้งอยู่โดยรอบ ดังนั้นสภาพภูมิทัศน์จึงมีทั้งสภาพตามธรรมชาติและก่อสร้างโดยมนุษย์

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ    สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยสามารถจำแนกออกเป็น 
ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่บริเวณรอบๆ ชายขอบของอุทยานแห่งชาติที่ระดับความสูงระหว่าง 330-850 เมตรจากระดับน้ำทะเล 
ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ในชั้นระดับความสูง 330-950 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่หลายชนิด 
ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในชั้นระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามบริเวณหุบเขา บริเวณต้นน้ำลำธาร พืชพื้นล่างจะเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบความชื้นสูงขึ้นอยู่อย่างแน่นทึบ 
ป่าดิบเขา พบในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดดอยปุย ต้นไม้ในป่าจะมีพืชเกี่ยวเกาะขึ้นปกคลุมตามลำต้นและเรือนยอดอย่างหนาแน่น ที่สำคัญได้แก่ กล้วยไม้ชนิดต่างๆ ฝอยลม มอส คำขาวหรือกุหลาบพันปีสีขาว ฯลฯ 
สัตว์ป่า    สัตว์ป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่อยู่ในสภาพวิกฤติ ทั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและขนาดกลางมีจำนวนลดลงมาก เช่น เก้ง กวางป่า ลิง ชะนี ฯลฯ และสัตว์ขนาดใหญ่บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง และเสือ เป็นต้น

 

ประเภทการใช้ประโยชน์

มีการใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งศึกษาวิจัย

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

สภาพลักษณะพื้นที่เป็นป่าที่ยังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ สุนทรียภาพเหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และถ่ายภาพดอกไม้ พืชพรรณที่หายาก รวมทั้งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และยังไม่มีการพัฒนาขนาดใหญ่ สภาพโดยรวมเหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

โครงการพัฒนา

-

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ บ้านพัก อาคารร้านค้า ร้านอาหาร ลานจอดรถ ห้องน้ำ และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -