สถานที่ตั้ง

จังหวัด เชียงใหม่ อำเภอ อำเภอฝาง ตำบล โป่งน้ำร้อน 50110

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

โป่งพุร้อน

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

     เป็นแหล่งพลังงานในโครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง (ระยะที่ 1) เเละเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาธรณีวิทยา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

     หินไบโอไทต์แกรนิต ทัวมารีนแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ ไบโอไทต์มัสโค ไวต์แกรนิต มัสโคไวต์ทัวมารีนแกรนิต ไบโอไทต์ทัวมารีนแกรนิต ยุค Triassic

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ดิน ดินเหนียวปนทราย
  • น้ำ น้ำใส่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นกำมะถันเล็กน้อย พบตะไคร่น้ำสีเขียวปกคลุมบริเวณท้องน้ำ
  • ขยะ พบเห็นเล็กน้อย พวกเศษเปลือกไข่
  • ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์โดยรวมมีความสวยงาม ทั้งบริเวณโป่งพุร้อน และสภาพเเวดล้อมโดยรอบ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

     ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ยื่นต้นท้องถิ่น และมีการนำไม้ประดับมาตกแต่งอาคารต่าง ๆ 

ประเภทการใช้ประโยชน์

  • การท่องเที่ยว/นันทนาการ
  • ฟื้นฟูสุขภาพ/ธรรมชาติบำบัด

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

  • ทัศนียภาพบริเวณโป่งพุร้อน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบมีความสวยงามตามธรรมชาติ มีความโดดเด่นของลานหิน และการพุ่งของน้ำร้อน ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ 
  • มีการสร้างหินเทียมบริเวณปากบ่อ มีขนาดใหญ่ แต่มีรูปแบบที่กลมกลืนกับลานหินเดิม
  • ภายในพื้นที่มีการวางผัง และแบ่งประโยชนืใช้สอยพื้นที่อย่างชัดเจน บริเวณโป่งพุร้อนมีองค์ประกอบทางเดินและจุดให้ความรู้เป็นฐานต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง 

โครงการพัฒนา

         จัดทำแหล่งท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมหลากหลาย

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

     มีบ้านพัก ร้านค้า ร้านอาหาร และร้านขายของที่ระลึก ลานกางเต็น ฯลฯ เพื่อรองรับแก่นักท่องเที่ยว

 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทโป่งพุร้อน
- ไม่มีข้อมูล -