สถานที่ตั้ง

จังหวัด มุกดาหาร อำเภอ อำเภอเมืองมุกดาหาร ตำบล นาสีนวน 49000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เป็นภูเขาลูกใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร อยู่ในระดับความสูง 300-400 เมตร มีที่ราบกว้างใหญ่อยู่หลังเขา 

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

        ภายในถ้ำในสมัยก่อนเคยเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่เป็นทองคำ เงิน ไม้ แก้ว มากมาย แต่ได้ถูกขโมยสูญหายไปหมด ปัจจุบันเหลือเพียงพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ฟุต พระพุทธรูปไม้อีกหลายร้อยองค์และรูปปั้นรูปสัตว์ต่างๆ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ธรณีวิทยา เป็นหินทรายของหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หินทราย หินทรายเนื้อกรวด และหินกรวดมน พบชั้นเฉียงระดับอยู่ทั่วไป หินทรายดังกล่าวผ่านการถูกชะล้างพังทลายจากน้ำฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งหินทรายที่มีความแข็งแรงสึกกร่อนยากยังคงเหลืออยู่ หินทรายและหินทรายแป้งที่สึกกร่อนง่ายถูกชะล้างพังทลายจึงเกิดเป็นประติมากรรมหินรูปร่างประหลาดงดงาม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

         ลักษณะภูมิประเทศ ลานหินทรายและมีกลุ่มโขดหินทรายที่วางซ้อนทับกัน 
         ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย
         น้ำ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำ ลำธาร และแหล่งน้ำซับ บริเวณด้านหน้าของภูถ้ำพระมีน้ำตกไหลผ่าน
        ขยะ มีขยะกระจายอยู่ในพื้นที่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์
        สัตว์ป่า  สัตว์ป่าที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ หมูป่า กระต่าย กระรอก กระแต เก้ง หมาจิ้งจอก อีเห็น ลิง ไก่ป่า และนกนานาชนิด

 

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การใช้ประโยชน์เป็นวัด

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        มีสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมาก มีลักษณะไม่กลมกลืนกับธรรมชาติ

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

         อาคารวัด ห้องน้ำ 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีข้อมูล -