สถานที่ตั้ง

จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ อำเภอ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตำบล อ่าวน้อย 77000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

    เขาช่องกระจก ตั้งอยู่ใน ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นภูเขาขนาดเล็ก ทางขึ้นอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัด       มีบันได 396 ขั้น ยอดเขามีความสูง 245 เมตร จากระดับทะเลปานกลางเป็นที่ตั้งของวัดเขาช่องกระจก ซึ่งประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธีบรรจุเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน  พ.ศ. 2501 และทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีงานเฉลิมฉลองในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ด้านทิศเหนืือของภููเขามีช่องโปร่งทะลุุดูคล้ายกับกรอบของกระจก อันเป็นที่่มาของชื่อภููเขาแห่่งนี้ จากยอดเขามีจุุดชมวิวทิวทัศน์์โค้งอ่าวรอบตัวเมืองประจวบฯ ซึ่่งเรียกกันว่่า “จุุดชมวิิวสามอ่าว”

 

ตำนานความเชื่อ

          เขาช่องกระจกเป็นส่วนหนึ่งของตำนานเขาตาม่องล่าย เล่าขานกันว่า ณ หมู่บ้านอ่าวน้อย มีบ้านหลังหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวชื่อ ม่องล่าย เมียชื่อ รำพึง และลูกสาวชื่อ ยม โดย ความงามและความดีของนางเลื่องลือ อยู่ในหมู่ชาวประมงและพ่อค้าวานิชที่เคยเข้ามาค้าขายในอ่าวน้อย ขณะเดียวกัน หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตเมืองเพชรบุรี มีเจ้าเมืองปกครองด้วยความร่มเย็น มีลูกชายรูปงามชื่อ เจ้าลาย ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของยมโดย จึงคิดอุบายเพื่อชมความงามของนาง จึงได้ปลอมตัวเป็นชาวประมงล่องเรือขายปลามาถึงหมู่บ้านอ่าวน้อย และได้ทำความรู้จักนางรำพึง ด้วยความขยันขันแข็งสุภาพอ่อนน้อมของเจ้าลาย ทำให้นางรำพึงยินดีให้เจ้าลายสนิทสนมกับสาวยมโดย ส่วนตาม่องล่ายกลับไม่พอใจจึงขัดขวางทุกวิถีทาง  ความรักของคนทั้งสองเริ่มมีอุปสรรคมากขึ้น เมื่อมีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขาย และได้จอดทอดสมอเรือที่บริเวณหน้าบ้านตาม่องล่ายในอ่าวน้อย เจ้าของเรือ คือ เจ้ากรุงจีน ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ความงามของนาง จึงตีสนิทกับตาม่องล่ายได้สำเร็จ แต่นางรำพึงไม่พอใจ ยายรำพึงกับตาม่องล่าย มักมีปากเสียงกันด้วยเรื่องนี้อยู่เสมอ ต่อมาเมื่อเจ้าลายส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนางยมจากยายรำพึง ยายรำพึงได้รับขันหมากเจ้าลาย โดยไม่ให้ตาม่องล่ายรู้ และเมื่อเจ้ากรุงจีนมาสู่ขอนางยม จากตาม่องล่าย ตาม่องล่ายก็ไม่ให้ยายรำพึงรู้เช่นกัน เมื่อทั้งสองยกขันหมากมาสู่ขอนางยม ทั้งยายรำพึงและตาม่องล่ายเกิดทะเลาะกันอย่างรุนแรงและต่างขว้างปาข้าวของเครื่องใช้ ในบ้านรวมทั้งของในขบวนขันหมากใส่กันและกัน จึงกลายเป็นสถานที่ต่างๆ ในหลายๆ จังหวัด โดยเขาช่องกระจกนั้นมาจากกระจกของนางยมที่ถูกปาออกไปโดยลอยไปติดบนเขากลายเป็น เขาช่องกระจก ที่เรียกชื่อถึงปัจจุบันนี้

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

- เขาช่องกระจก เป็นภูเขาขนาดเล็ก ทางขึ้นอยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัด มีบันได 396 ขั้น ยอดเขามีความสูง 245 เมตร จากระดับทะเลปานกลางเป็นที่ตั้งของวัดเขาช่องกระจก ซึ่งประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธีบรรจุเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2501 และทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีงานเฉลิมฉลองในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ด้านทิศเหนืือของภูเขามีช่องโปร่งทะลุดูคล้ายกับกรอบของกระจก อันเป็นที่่มาของชื่อภููเขาแห่งนี้ จากยอดเขามีจุดชมทิิวทัศน์โค้งอ่าวรอบตัวเมืองประจวบฯ ซึ่งเรีียกกันว่า “จุุดชมวิิวสามอ่าว”

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

ธรณีวิทยา    ลักษณะทางธรณีของเขาช่องกระจกประกอบด้วยหิน 2 ประเภท คือ หินดินดานสีดำสลับกับหินโคลนและหินทราย มีซากดึกดำบรรพ์ประเภทไบรโอซัว (Bryozoa) และแบรคิโอพอด (brachiopod) จำนวนมาก อายุอยู่ในช่วง 280-270 ล้านปี หินประเภทที่ 2 เป็นหินปูน มีซากดึกดำบรรพ์พวกฟอแรมินิเฟอรา (foraminifera) และสาหร่าย อยู่ในช่วง 270-260 ล้านปี ปัจจัยที่ทำให้เกิดช่องกระจก (window) คือรอยแตกหลายทิศทางในชั้นหินปูน คุณสมบัติของหินปูนที่ละลายน้ำได้ดีและแรงลมที่ปะทะกับเขาริมทะเล
ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นภูเขาหินปูนที่มีลักษณะค่อนข้างสูงชันตั้งอยู่ริมทะเล
ดิน    ลักษณะดินเป็น ดินเหนียว
น้ำ    -
ขยะ    พบเห็นขยะกระจายโดยทั่วไปในพื้นที่
ภูมิทัศน์    เขาช่องกระจกเป็นภูเขาขนาดย่อม บนยอดเขามีช่องทะลุคล้ายกรอบกระจกอันเป็นที่มาของชื่อ “เขาช่องกระจก” บนยอดเขาช่องกระจกนอกจากจะเป็นจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเขาตะนาวศรี เขาตาม่องลาย เขาล้อมหมวก หมู่เกาะหลัก เวิ้งอ่าวที่โค้งจนเกือบเป็นครึ่งวงกลมของอ่าวประจวบฯ ปากคลองบางนางรมแหล่งเลี้ยงหอยนางรมในอำเภอเมือง และตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ได้โดยรอบ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

เขาช่องกระจก เป็นภูเขาขนาดเล็ก เป็นสัญลักษณ์ของเมืองประจวบฯ ตั้งอยู่ใน ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ บริเวณอ่าวประจวบฯ มีความสูงประมาณ 245 เมตร เขาช่องกระจกเป็นส่วนหนึ่งของวัดธรรมิการาม บนยอดเขาประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง อีกทั้งยังมีองค์เจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  บริเวณของเขากระจกนั้น จะเป็นรูของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่อยู่ตรงกลางของช่องเขา ดูแล้วลักษณะคล้ายกับเศษแก้ว เศษกระจก โดยไฮไลท์จะอยู่ที่เมื่อถ่ายภาพให้ตรงกับแนวของพระอาทิตย์ จะเห็นแสงสะท้อนออกมาจากรูของช่องเขา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ    พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นไม้ดั้งเดิมในพื้นที่
สัตว์ป่า    บริเวณเขาช่องกระจกเป็นที่อยู่ของลิงแสมจำนวนมาก

ประเภทการใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการท่องเที่ยว และเป็นที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

มีการพัฒนาทางกายภาพแต่ไม่บดบังทัศนียภาพ

โครงการพัฒนา

- บันไดจำนวน 396 ขั้น ไปกราบรอยพระพุทธบาทพร้อมทั้งสักการะพระบรมสารีริกธาตุได้อย่างสะดวกเพราะทางวัดทำบันไดคอนกรีตขึ้นไปสู่ยอดเขาอย่างดี และจุดชมวิวทะเลและเมืองประจวบฯ ในมุมที่งดงาม

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

มีศาลาพักผ่อนหลังเล็ก ๆ ถูกสร้างไว้ให้นักท่องเที่ยว

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -