สถานที่ตั้ง

จังหวัด บึงกาฬ อำเภอ อำเภอบึงโขงหลง ตำบล โพธิ์หมากแข้ง 38220

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำนาคา ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกตาดวิมานทิพย์) บ้านตาดวิมานทิพย์ ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

ถ้ำนาคา  มีหินขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายงูยักษ์หรือพญานาคอยู่หลายจุด เป็นความโดดเด่น  ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา บริเวณวัดถ้ำชัยมงคล ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากพื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฏการณ์    ซันแครก (Sun Crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู

ตำนานความเชื่อ

“ถ้ำนาคา” เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการที่พื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฎการณ์ซันแครก (sun crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู ประกอบกับการโค้งตัวของหินทำให้รูปร่างโดยรวมคล้ายกับการขดตัวของงูใหญ่หรือพญานาค  ตามตำนานความเชื่อเรื่อง “เจ้าปู่อือลือ” ที่ถูกสาปให้เป็นพญานาคและถูกจองจำ โดยจะพ้นคำสาปและทำให้พื้นที่นั้นได้เป็นที่รู้จักและเจริญรุ่งเรืองก็ต่อเมื่อครบ 10 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการครบรอบการก่อตั้งจังหวัดบึงกาฬ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2563 ทำให้ผู้ที่ได้มาพบเห็นถ้ำแห่งนี้เกิดการกระจายข่าวไปตามความเชื่อส่วนบุคคลจนเป็นที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน โดยถ้ำนาคาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากพื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฏการณ์ซันแครก (Sun Crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู ประกอบกับการโค้งตัวของหินทำให้รูปร่างโดยรวมคล้ายกับการขดตัวของงูใหญ่หรือพญานาค (ตามความเชื่อ) โดยในแต่ละฤดูกาลจะให้ภาพและบรรยากาศแตกต่างกันไป ฤดูฝนจะเกิดมอสส์ เฟิร์น และพืชพรรณต่าง ๆ เกาะตามผิวหินทำให้ดูมีชีวิตชีวา ฤดูร้อนจะเห็นผิวหินชัดเจน และระหว่างทางจะเต็มไปด้วยบรรดาพืชพรรณดอกไม้  หินประหลาดรูปทรงคล้ายเกล็ดพญานาค พื้นที่บริเวณภูทอก ภูวัว ภูสิงห์ หรือหินสามวาฬ ลักษณะทางธรณีวิทยา เป็นหินทรายอายุ 75-80 ล้านปี เป็นหินที่เกิดในสมัยก่อนประเทศไทยเคยเป็นทะเลทรายโบราณ โดยพื้นที่มีหิน 2 แบบสลับชั้นกันที่ความหนาประมาณ 200 เมตร  (นายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร ผอ.กองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี)    ลักษณะโดยทั่วไปของหินในบริเวณนี้ มีชื่อทางวิชาการว่า “หมวดหินภูทอก” ประกอบด้วยหินสลับเรียงเป็นชั้นรวม 2 ชนิด ได้แก่หินทรายเนื้ออาร์โคส กับหินทรายแป้งเนื้อปนปูน เมื่อหินยกตัวขึ้นเป็นภูเขา น้ำฝนจะกัด กร่อนเฉพาะชั้นหินทรายแป้งเนื้อปนปูน เนื่องจากมีเนื้อหินที่ละลายน้ำได้ จึงทำให้พบชั้นเว้าเป็นลักษณะคล้ายถ้ำขนานยาวไปตามภูเขา สลับกับชั้นหินทรายซึ่งเป็นชั้นหินนูนเด่นมา และเป็นลักษณะทั่วไปของภูเขาในบริเวณนี้”

ประเภทการใช้ประโยชน์

เป็นแหล่งท่องเที่ยว  และแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ  

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -