สถานที่ตั้ง
จังหวัด สุโขทัย อำเภอ อำเภอศรีสัชนาลัย ตำบล แม่สิน 64130
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
โป่งพุร้อน
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
พื้นที่ที่บ่อน้ำร้อนเคยเป็นป่าต้นอ้อมาแต่แรกเริ่ม มีน้ำร้อนผุดขึ้นมามองเห็นเป็นหนองน้ำ มีไอน้ำลอยขึ้น จากคำบอกเล่าของนายชุมแสง เรืองขำ อายุ 56 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านโปงลำปางระบุว่ามีจุดที่น้ำร้อนใต้ดินผุดขึ้นมาประมาณ 5-6 บ่อ แต่เก็บรักษาบ่อหลักไว้ 2 บ่อ และนำ วงปูนซีเมนต์มาปิดทับ ต่อมามีโครงการขุดสระน้ำให้เป็นตัวเลข 9 ไทย ทำให้ขุดทำลายบ่อน้ำร้อนธรรมชาติไป 1 บ่อ ปัจจุบันจึงเหลือบ่อธรรมดาที่เป็นบ่อเกิด 1 บ่อ ปัจจุบันจึงเหลือบ่อธรรมชาติเพียง 1 บ่อ เป็นบ่อแรกที่ถูกค้นพบ (ตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้าน) และถูกโบกปิดด้วยปูนซีเมนต์ มีเพียงท่อสูบน้ำที่ถูกติดตั้งให้สูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ และมีการสร้างโรงอบพลังงานไฟฟ้าทำให้มีการขุดพื้นที่รอบ ๆ บ่อธรรมชาติและพบกระดูกสัตว์จำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นกระดูกสัตว์ป่า เช่น เสือ ที่ลงมากินน้ำที่หนองน้ำในอดีต
ตำนานความเชื่อ
- มีศาลเจ้าพ่อน้ำทิพย์ ทางทิศใต้ของแหล่งบ่อน้าร้อน บริเวณริมสระน้ำ มีการกราบไหว้เป็นประจำ และในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการจัดงานประจำทุกปี ส่วนป้ายชื่อโป่งลาปางถูกดัดแปลงเป็น “โปร่งลาปาง” ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้เติม ร เรือ ลงไปที่คำว่า โป่ง เนื่องจากเชื่อว่า คำว่า โป่ง หมายถึงผีโป่ง ผีป่า ไม่ไพเราะ จึงเติม ร เรือ ให้ฟังดูเป็น ปลอดโปร่ง โล่งสบาย กลายเป็นคาว่า โปร่งลาปาง ตามป้ายชื่อแหล่งในปัจจุบัน สาหรับการอาบน้ำร้อน มีคนในชุมชน เป็นชาวบ้านต่างถิ่นจากโคราชเคยตักน้ำไปอาบ และพา ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมาอาบน้ำที่แหล่ง ต่อมาอาการผู้ที่เป็นอัมพาตก็ดีขึ้นจนสามารถเดินได้
- ชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่าภูเขานก เป็นปล่องภูเขาไฟ โบราณ เนื่องจาก เชื่อว่าเป็นปากปล่องอยู่บนยอดเขา ผู้ใหญ่บ้านเคยทดลองโยนหินลงไปในปล่องได้ยินเสียงหิน หล่นกลิ่้งลงไปดัง กรุก กรุก กรุก จึงเข้าใจว่าเป็นถ้ำหิน มีเรื่องเล่าว่า เคยมีผู้หย่อนลูกมะพร้าวลงไปและลูกมะพร้าว ไปโผล่ที่แม่น้ำยม ทำให้เชื่อว่าปล่องภูเขาไฟเชื่อมไปยังทางออกที่แม่น้ำยม
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
บริเวณโป่งลำปางพบว่าเป็นหินตะกอนอายุเพอร์เมียน กลุ่มหินงาว (Ngoa Group) หมวดหินลับแล (Lub Lae Formation, Pll) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหินอายุคาร์บอนิเฟอร์รัส ประกอบด้วยหินทรายเกรย์แวก สีเทาและเทาแกมเขียว เนื้อละเอียด สลับด้วยหินดินดาน แสดงแนวแตกเรียบชัดเจนของหินแอนดีไซต์ เนื้อบะซอลต์หนา 1 - 1.5 เมตร ตอนล่าง หินกรวดมนสลับกับหินปูนชั้นบาง และหินเชิร์ต พบซากดึกดำบรรพ์ จำพวกเรดิโอลาเรีย โดยบริเวณดังกล่าวมีตะกอนเศษหินเชิงเขา อายุควอเทอร์นารี (Quaternary : Qc) ซี่งเป็นตะกอนปัจจุบัน ประกอบด้วยตะกอนดินและเศษหินเชิงเขา และตะกอนน้ำพา (Quaternary : Qa) ประกอบด้วยทรายปนดินเหนียวและดินเหนียวปนทรายมีลูกรังและกรวด อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ผิวดินประมาณ 58 องศาเซลเซียส และมีหินดินดานในยุคที่ถูกแปรสภาพเล็กน้อย พบเป็นหินโผล่ทางทิศเหนือของโป่งลำปาง โดยมีโครงสร้างที่สำคัญคือรอยแตกของหินในแนวทิศเหนือ-ใต้ ที่ขนานไปกับแนวลำน้ำ ซึ่งคาดว่าจะเป็นรอยเลื่อนหลักในพื้นที่ และทำให้เกิดเป็นระบบรอยแตกในหินที่เชื่อมโยงต่อเนื่องจากผิวดินลงไปสู่หินร้อนใต้ดินในระดับลึก จนเกิดเป็นแหล่งโป่งพุร้อนในพื้นที่นี้
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
โป่งสุเม่น โป่งลำปาง และโป่งน้ำร้อนใกล้แม่น้ำยม พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 4 Division 6 species โดยมีความหลากหลายมากที่สุด
ไม้ยืนต้น ความหลากหลายของสังคมพืชบริเวณลักษณะโครงสร้างป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบบริเวณโป่งลำปาง
ความหลากหลายของสัตว์ป่าที่พบบริเวณนี้จากข้อมูลทุติภูมิ เช่น เต่าเหลือง ไก่ป่า หมูป่า อีเห็น เลียงผา
ประเภทการใช้ประโยชน์
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
สภาพพื้นที่ภายในบริเวณบ่อน้ำพุร้อนโป่งลำปาง มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากไม่เหลือสภาพธรรมชาติดั้งเดิม โดยบ่อกำเนิดเดิม ถูกขุดให้เป็นสระน้ำ จึงทำให้น้ำในบริเวณสระมีอุณภูมิที่ต่ำลง ทาง อบต.แม่สิน จึงใช้วิธีการเจาะบ่อบาดาล ห่างจากจุดเดิม (ที่เป็นสระน้ำ) ประมาณ 30-50 เมตร และใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำร้อนขึ้นมาใช้ในการแช่เท้าและหมุนเวียนในทางน้ำไหลบริเวณภายในสวน การก่อสร้างอาคารอำนวยความสะดวกจึงเป็นอาคารที่ไม่มีความสูงบดบังทัศนียภาพให้ขาดความสวยงาม
โครงการพัฒนา
โครงการก่อสร้างสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นตำบลแม่สิน
โครงการปรับปรุงทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนบ้านโป่งลำปาง หมู่ที่ 17 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในพื้นที่โป่งพุร้อนโป่งลำปาง จะประกอบไปด้วย
• อาคารแช่เท้ารวมห้องล้างเท้า จำนวน 2 หลัง
• อาคารพักร้อน 2 หลัง
• ห้องน้ำ ชาย ห้องน้ำหญิง และห้องน้ำผู้พิการ จำนวน 1 หลัง
• อาคารเอนกประสงค์สำหรับการทำกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
อาคารที่ติดตั้งห้องอบพืชผลทางการเกษตรด้วยพลังงานความร้อนจากบ่อน้ำพุร้อนและอุปกรณ์ควบคุม
การขุดขยายพื้นที่สระน้ำเพิ่มเติม