สถานที่ตั้ง

จังหวัด พะเยา อำเภอ อำเภอเมืองพะเยา ตำบล เวียง 56000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

แหล่งน้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

“กว๊านพะเยา” มาจาก “หนองเอี้ยง” แหล่งน้ำขนาดใหญ่อันดับสามของประเทศ  กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  มีลักษณะเป็นบึงน้ำรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดกว้างใหญ่สุดในภาคเหนือ มีโอบล้อมด้วยทิวเขาสลับซับซ้อนอย่างสวยงาม คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง"  เมื่อหลายร้อยปี พื้นที่ในบริเวณกว๊านพะเยาเป็นชุมชนมีวัดวาอารามอยู่มากมาย ต่อมาเมื่อกรมประมงสร้างประตูกั้นน้ำในกว๊านพะเยาเพื่อกักเก็บน้ำ และกั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาชาวบ้านที่อยู่ปลายน้ำ จึงทำให้บริเวณกว๊านพะเยาที่แต่เดิมเป็นชุมชนโบราณ และวัดหลายแห่งต้องจมอยู่ในกว๊านพะเยา  กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวพะเยา การนำน้ำมาใช้ทั้งการอุปโภค การประมง และมีความสำคัญต่อชีวิตสัตว์น้ำที่อยู่ในกว๊านพะเยาอย่างมาก  บริเวณรอบๆกว๊านมีความร่มรื่น ผู้คนจากทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดต่างพากันมาพักผ่อนหย่อนใจ เดินเล่นชมวิว ปั่นจักรยาน วิ่งออกกำลังกาย  ฯลฯ

ตำนานความเชื่อ

มีอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ตั้งอยู่ตรงข้ามกับกว๊านพะเยา  อนุสาวรีย์ที่จะทำให้คุณรำลึกถึงบูรพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต และเป็นบุคคลสำคัญที่ชาวพะเยาไม่เคยลืมเลือน  พระองค์เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ แม่น้ำอิง ซึ่งก็คือบริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยาในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าพ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ โดยกล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด” จึงได้พระนามว่า “งำเมือง” และในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี จะมีการจัดพิธีสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

บริเวณกลางกว๊านพะเยา มีการพบซากประวัติศาสตร์เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีชื่อว่า "วัดติโลกอารามในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา จะมีการเวียนเทียนกลางน้ำรอบวัด เป็นแห่งเดียวในโลก 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ว๊านพะเยา เป็นบึงตามธรรมชาติ อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา คำว่า “กว๊าน” ตามหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า “บึง น้ำตอนลึก น้ำตอนที่ไหลวน” ที่เรียกว่า กว๊าน คงถือเอาตามสำเนียงภาษาของชาวภาคเหนือเป็นหลัก

กว๊านมีเนื้อที่ตามที่ทางประมงพะเยาสำรวจไว้มีเนื้อที่ 10,600 ไร่ (หนึ่งหมื่นหกร้อย) ถ้าคิดตามปริมาณน้ำที่แผ่ขึ้นไปท่วมฤดูน้ำมาก จะมีอาณาเขตกว้างออกไปอีกมากมายกว่า 15,000 ไร่ (หนึ่งหมื่นห้าพัน) มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศตะวันออก       ติดหมู่บ้านตำบลเวียง และตำบลแม่ต๋ำ
  • ทิศใต้                   ติดตำบลเขตแม่นาเรือ
  • ทิศตะวันตก          ติดกับเขตตำบลตุ่น
  • ทิศเหนือ               ติดกับเขตตำบลต๋อม และตำบลต๊ำ

ประเภทการใช้ประโยชน์

- สวนสาธารณะสำหรับพักผ่อน ออกกำลังกาย

- ประชาชนจับสัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงชีพโดยทำการประมงพื้นบ้าน

- เทศบาลจ่ายน้ำในกว๊านฯ ให้ชุมชนไปใช้ตามครัวเรือน  และด้านการกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวนต่างๆ หรือโรงงงานอุตสากรรมทั่วไป

- ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจีด

- ใช้เป็นสถานที่เพาะพันธุ์ปลาน้ำจีด

โครงการพัฒนา

- โครงการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โดยกรมชลประทาน (2564 - 2567)

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

- สวนสาธารณะให้ประชาชนมาใช้บริการ

- ร้านค้า  ร้านอาหาร

- มีเรือบริการพานักท่องเที่ยวชมรอบกว๊านฯ

ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทแหล่งน้ำ
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -