สถานที่ตั้ง

จังหวัด ศรีสะเกษ อำเภอ อำเภอกันทรลักษ์ ตำบล เสาธงชัย 33110

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        ตลอดแนวผามออีแดงมีระยะประมาณ 300 เมตร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทัศนียภาพของแผ่นดินประเทศกัมพูชาที่อยู่ต่ำลงไปอย่างเป็นมุมกว้าง มีฝูงค้างคาวในยามพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณใกล้เคียงมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมโบราณสถานสถูปคู่รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนกลมข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งของสร้างด้วยหินทรายแดง ขนาดกว้าง 1.93 เมตร ยาว 4.2 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

        บริเวณผามออีแดง มีภาพแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพคน 3 คน ในเครื่องแต่งกายแบบชาวกัมพูชา สร้างขึ้นก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ราวกลางศตวรรษที่ 11 อายุประมาณ 1,500 ปี มีโบราณวัตถุ (พระพุทธรูปนาคปรก)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ธรณีวิทยา เป็นภูเขาหินทรายแดง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน
        ดิน หมวดหินพระวิหารพบเป็นแนวยาวแคบ ๆ ในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก เขตอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ ชั้นหินวางตัวปิดทับเป็นแนวต่อเนื่องขึ้นมาจากหมวดหินภูกระดึงประกอบด้วย หินทราย สีขาวถึงขาวปนเหลือง เม็ดตะกอนขนาดละเอียดถึงหยาบ ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์ หินทรายแป้ง หินโคลน ชั้นบาง และหินกรวดมน หมวดหินพระวิหารโผล่ปรากฏเด่นชัดบริเวณผามออีแดง และบนเส้นทางจากด่านช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ ไปเมืองอันลองเวง จังหวัดอุดร เมียนเจย ประเทศกัมพูชา เกิดจากการสะสมตะกอนในทางน้ำประสานสาย เมื่อ 170-100
ล้านปีก่อน
        น้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่าง ๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น
        ขยะ พบเห็นขยะบ้างเล็กน้อย
        ภูมิทัศน์ เป็นภูเขาที่ล้อมรอบไปด้วยผืนป่าของฝั่งไทยและกัมพูชา และมองเห็นสถาปัตยกรรมเขาพระวิหาร

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้คละปะปนกันมาก เช่น ประดู่ มะค่าโมง แดง ชิงชัน ตะแบก มะเกลือ งิ้วป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหญ้าและไผ่ชนิดต่าง ๆ ป่าเต็งรัง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นอยู่กระจัดกระจาย พืชชั้นล่างมีหญ้าชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะหญ้าแพ้ว พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เขลง ตะคร้อ ฯลฯ ป่าดิบแล้ง พบบริเวณที่ราบเรียบหรือหุบเขา พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ตะเคียน พะยุง สมพง กระเบากลัก กัดลิ้น ข่อยหนาม ยาง กระบก ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหวาย และพืชในตระกูลขิงข่าต่าง ๆ
       สัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าของป่าเขาพระวิหารและป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น หมูป่า ลิงแสม พังพอนธรรมดา กระต่ายป่า หนูท้องขาว กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ นกนางแอ่นลาย นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกปรอดทอง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกกินแมลงอกเหลือง นกปีกลายสก็อต จิ้งจกดินลายจุด ตุ๊กแกเขาหินทราย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนภูเขาเขมร ตะกวด งูดิน งูเหลือม งูแม่ตะงาว งูหัวกะโหลก กบหนอง เขียดจะนา กบหลังขีด กบนา ปาดบ้าน อึ่งข้างดำ และกบอ่อง ในบริเวณพื้นที่แหล่งน้ำมีปลาหลากชนิดอาศัยอยู่ เช่น ปลากระสูบจุด ปลาตะเพียนทอง ปลานวลจันทร์เทศ ปลาช่อน ปลาหมอเทศ และปลาดุกด้าน

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยว นันทนาการ และการศึกษาเรียนรู้

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        ลานกางเต็นท์ 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีข้อมูล -