การมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการประกาศบึงโขงหลงและย่านชุมชนเก่าเป็นมรดกจังหวัดบึงกาฬ
ระหว่างวันที่ : 20/02/2024 - 20/02/2027
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (กธศ.) เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นต่อการประกาศบึงโขงหลงและย่านชุมชนเก่าเป็นมรดกจังหวัดบึงกาฬ จัดโดยหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ ณ ห้องประชุมโรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ (นายนคร ศิริปริญญานันท์) เป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดบึงกาฬ, อำเภอบึงโขงหลง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง, โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม, โรงเรียนบึงของหลงวิทยา, ปราชญ์ชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
ผลการรับฟังความคิดเห็น ที่ประชุมเห็นด้วย และยินดีที่จะให้มีการประกาศแหล่งธรรมชาติบึงโขงหลง ย่านชุมชนเก่าบ้านดอนกลาง - บ้านบึงโขงหลง และย่านชุมชนเก่าคุณธรรมเป็นมรดกจังหวัดบึงกาฬ เนื่องจากการประกาศมรดกจังหวัดไม่มีผลทางกฎหมาย และเป็นการสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อส่งต่อมรดกนี้ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
การหารือและสำรวจพื้นที่บึงโขงหลง และย่านชุมชนเก่าบึงโขงหลง เพื่อเตรียมการเสนอเป็นมรดกจังหวัดบึงกาฬ
ระหว่างวันที่ : 05/02/2024 - 05/02/2027
เมื่อวันที่ 26 - 27 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (กธศ.) ได้เดินทางไปประสาน สำรวจพื้นที่แหล่งธรรมชาติ และย่านชุมชนเก่าบึงโขงหลง และได้มีการหารือร่วมกับ ทสจ.บึงกาฬ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ และผู้แทนชุมชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำรายละเอียดข้อมูลของแหล่งธรรมชาติบึงโขงหลง และย่านชุมชนเก่าบึงโขงหลงมาประมวลวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบการจัดทำแบบเสนอมรดกจังหวัด เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดบึงกาฬในลำดับต่อไป
โดยในวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2566 ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งธรรมชาติบึงโขงหลงร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และได้มีการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ขอบเขตพื้นที่ของแหล่งธรรมชาติบึงโขงหลง และย่านชุมชนเก่า ที่อยู่บริเวณโดยรอบบึงโขงหลง
และในวันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ได้ลงพื้นที่สำรวจย่านชุมชนเก่าคุณธรรม และย่านชุมชนเก่าบ้านดอนกลาง - บ้านบึงโขงหลง ที่อยู่บริเวณโดยรอบบึงโขงหลงร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชุมชนและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
การประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดบึงกาฬ ครั้งที่ 1/2566
ระหว่างวันที่ : 05/02/2024 - 05/02/2027
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (กธศ.) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดบึงกาฬ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ
มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ (นายนคร ศิริปริญญานันท์) เป็นประธาน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ได้แก่ หน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดบึงกาฬ, โรงเรียนบึงกาฬ, อบจ.บึงกาฬ, กรมทรัพยากรน้ำ, กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ, สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สนง.ธนารักษ์พื้นที่บึงกาฬ, สนง.โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดบึงกาฬ, สนง.ที่ดินจังหวัดบึงกาฬ, สนง.พระพุทธศาสนาจังหวัดบึงกาฬ, สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ, สภาวัฒนธรรมอำเภอ, สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัดบึงกาฬ, ปราชญ์ชุมชน และหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี ทสจ.บึงกาฬ เป็นฝ่ายเลขานุการ
โดยที่ประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการการประกาศพื้นที่บึงโขงหลงและย่านชุมชนเก่าคุณธรรม และบ้านดอนกลาง - บ้านบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นมรดกจังหวัด ทั้งนี้ สผ.ได้สำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในบริเวณแหล่งธรรมชาติบึงโขงหลง ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และในพื้นที่ย่านชุมชนเก่า ร่วมกับหน่วยอนุรักษ์ฯ และปราชญ์ชุมชนด้วย
การหารือเพื่อเตรียมการเสนอพื้นที่บึงโขงหลงและย่านชุมชนเก่าบึงโขงหลงเป็นมรดกจังหวัด
ระหว่างวันที่ : 12/12/2023 - 12/12/2025
ผลการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 รับทราบความเห็นในการพิจารณาความเป็นไปได้การเสนอบึงโขงหลงเป็นมรดกจังหวัดบึงกาฬ และบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรม (กธศ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่ 3 (อุดรธานี) กรมทรัพยากรน้ำ ทสจ.บึงกาฬ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ เพื่อร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ และเตรียมการเสนอพื้นที่บึงโขงหลงและย่านชุมชนเก่าบึงโขงหลงเป็นมรดกจังหวัด โดยทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมหารือ ไม่ขัดข้องและสนับสนุนการเสนอเป็นมรดกจังหวัด เนื่องจากการประกาศมรดกจังหวัดมีผลกระทบเชิงบวกและไม่มีผลทางกฎหมาย รวมทั้งพื้นที่จะได้เป็นมรดกให้กับคนรุ่นต่อไป สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป กธศ. จะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จัดทำข้อมูลเชิงวิชาการในการจัดทำแผนที่และขอบเขตแนวทางเลือก รวมทั้งสำรวจพื้นที่เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแบบเสนอมรดกจังหวัดเสนอต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมจังหวัดบึงกาฬ ที่จะมีการประชุมในช่วงต้นปี 2567 ต่อไป
การขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามแผนผังภูมินิเวศสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทโป่งพุร้อน ในพื้นที่ภาคเหนือ (ตอนล่าง) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ในพื้นที่โป่งพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร
ระหว่างวันที่ : 10/08/2023 - 10/08/2027
เมื่อวันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สผ. พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ เดินทางไปประสาน ติดตาม หารือ เพื่อขับเคลื่อนแผนผังภูมินิเวศสิ่งแวดล้อมธรรมชาติโป่งพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย อบจ.กำแพงพชร สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฯ หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด อบต.ลานดอกไม้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชุมชน เพื่อให้พื้นที่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติโป่งพุร้อนฯ และบริเวณโดยรอบมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมต่อไป
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ
ท่านสามารถปรับแต่งการใช้งานคุกกี้ได้ตามรายละเอียดต่อไปนี้
คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน และปลอดภัย
are necessary for specific functionality on the website. Without them, some features may be disabled.
คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์และนับจำนวนผู้ใช้งาน ตลอดจนช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์โดยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
allow us to personalise your experience and to send you relevant content and offers, on this website and other websites.