สถานที่ตั้ง
จังหวัด สงขลา อำเภอ อำเภอเมืองสงขลา ตำบล เขารูปช้าง 90000
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ภูเขา
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ก้อนหินทรงกลมขนาดใหญ่ที่ตั้งเด่นอยู่ที่ปลายสุดยอดเขาที่ติดกับริมทะเล
ตำนานความเชื่อ
ในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนายแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง”
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
เจดีย์พระยาวิเชียรศิริบุญสังข์ ณ สงขลา เจ้าเมืองสงขลาคนที่ 4 ไม่ปรากฏปีที่สร้างตั้งอยู่บนยอดเขาอย่างสง่างาม เป็นเจดีย์คู่เมืองสงขลามาเป็นเวลายาวนาน “เขาเก้าแสน” เมื่อราวๆปี พ.ศ.2402 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จหัวเมืองใต้เป็นครั้งแรก เคยเสด็จประพาสเขาเก้าแสนด้วย (ตามจดหมายเหตุสงขลา)
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
ธรณีวิทยา เขาหินอัคนี
ลักษณะภูมิประเทศ เนินเขาขนาดเล็กมีพื้นที่ติดทะเลไม่มีหาดทรายมีเพียงโขดหินขนาดใหญ่รอบๆ ฝั่งทะเล
ดิน ดินปนทราย
ขยะ มีเศษขยะที่พัดมากับคลื่นทะเล และจากนักท่องเที่ยวบ้าง
ภูมิทัศน์ เป็นเขาหินมีต้นไม้เล็กน้อย ลักษณะแตกต่างจากภูเขาริมทะเลอื่น ๆ ของสงขลา มีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย โดยมีก้อนหินใหญ่ที่ตั้งเด่นอยู่ที่ปลายสุดเป็นลักษณะสำคัญ ทิวทัศน์จากบริเวณหัวนายแรงนี้มองไปเห็นเกาะหนู เกาะแมวอยู่ลิบๆ
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
หญ้าและพรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ต่างถิ่นนำมาปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ประเภทการใช้ประโยชน์
เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ จุดชมวิว และมีศาสนสถาน วัดเขาแสน
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
มีการเข้าถึงได้สะดวกจากถนนใหญ่มีพื้นที่ไม่มาก สภาพพื้นที่มีการพัฒนาในส่วนบริการ ศาลา ถังขยะ บันได กุฏิที่พักพระสงฆ์ รูปปั้นพระพุทธรูปต่างๆ ลานจอดรถ และทางเดิน พื้นที่โดยรอบส่วนหน้าเป็นทะเล และล้อมด้วยชุมชนชาวประมงอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ ทางเดิน ห้องน้ำ บันได ศาลา ถังขยะ กุฏิพระ