สถานที่ตั้ง
จังหวัด อุทัยธานี อำเภอ อำเภอลานสัก ตำบล ทุ่งนางาม 61160
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ใน ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก อุทัยธานี อยู่ในความดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความสวยงามแปลกตาของทางธรรมชาติ หุบป่าตาด ได้ถูกประกาศจากกรมอุทยานแห่งชาติ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกตาด้วยพันธุ์ไม้ หายากมากมายหลายชนิด เช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก ขนุนดิน เป็นต้น โดยหุบป่าตาดมีลักษณะเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ที่ภายในคือผืนป่าที่เต็มไปด้วยต้นตาดและพืชพันธุ์โบราณแปลกตา ถ้ำหุบป่าตาดนั้นค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ครั้งนั้นพระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้แล้วพบว่ามีต้นตาดขึ้นอย่างดาษดื่น ซึ่งต้นตาดนั้นจัดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ท่านจึงได้เจาะถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าไปสู่หุบป่าตาดนั้นในปี พ.ศ. 2527 หุบป่าตาด อยู่บริเวณห้วยอโศก เป็นภูเขาบริวารของเขาปลาร้า มีลักษณะพิเศษที่เคยเป็นถ้ำมาก่อน แต่เมื่อหลังคาถ้ำยุบตัวลง จึงกลายเป็นหุบ หรือบ่อกลางภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ มีลักษณะคล้ายป่าดึกดำบรรพ์ยุคไดโนเสาร์รุ่งเรือง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-592 เมตร มีสัตว์ประจำถิ่นที่นี่ เช่น เลียงผา ไก่ฟ้า (ที่มักได้ยินแต่เสียง ไม่เจอตัว) แต่ที่เป็นไฮไลท์มากที่สุดของที่นี่ ก็คือ กิ้งกือมังกรสีชมพู ที่จะพบได้แค่ช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปีเท่านั้น (ประมาณเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน) เป็นสัตว์หายากที่ถูกค้นพบที่ประเทศไทยในหุบป่าตาดแห่งนี้ และเป็นแห่งเดียวของประเทศไทย เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
ลักษณะทางธรณีวิทยา เป็นภูเขาหินปูนลูกโดดกลางพื้นที่ราบ เป็นหินปูนเนื้อโดโลไมด์ สีเทา ที่เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน (245-286 ล้านปีมาแล้ว) เนื้อดินที่ได้จากการสลายตัวของหินปูนชนิดนี้ จะมีโครงสร้างดินเหนียวและดินร่วนมาก มีความอุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำได้ดี
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
หุบป่าตาด ตั้งอยู่ใน ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก อุทัยธานี อยู่ในความดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความสวยงามแปลกตาของทางธรรมชาติ หุบป่าตาด ได้ถูกประกาศจากกรมอุทยานแห่งชาติ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกตาด้วยพันธุ์ไม้ หายากมากมายหลายชนิด เช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก ขนุนดิน เป็นต้น โดยหุบป่าตาดมีลักษณะเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ที่ภายในคือผืนป่าที่เต็มไปด้วยต้นตาดและพืชพันธุ์โบราณแปลกตา ถ้ำหุบป่าตาดนั้นค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ครั้งนั้นพระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้แล้วพบว่ามีต้นตาดขึ้นอย่างดาษดื่น ซึ่งต้นตาดนั้นจัดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ท่านจึงได้เจาะถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าไปสู่หุบป่าตาดนั้นในปี พ.ศ. 2527
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
ด้วยสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายของระบบนิเวศ พบทั้งสิ้น 4 ระบบนิเวศ คือ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบผสม ป่าดินแล้งกึ่งป่าผลัดใบผสม และป่าละเมาะเขาหินปูน
พืชและสัตว์ที่พบหุบป่าตาด คือ ต้นตาด หรือต๋าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ปาล์ม นอกจากนี้ ยังพบกิ้งกือมังกรสีชมพู ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นด้วยสีชมพู ลวดลาย และปุ่มหนามคล้ายมังกร พบได้ในป่าที่มีความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์แถบภาคเหนือตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดตาก นครสวรรค์ และอุทัยธานี
ประเภทการใช้ประโยชน์
ปัจจุบัน หุบป่าตาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเดินทางเข้าไปเที่ยวชม และศึกษาธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
- หุบป่าตาดถูกค้นพบโดย พระครูสันติธรรมโกศล หรือหลวงพ่อทองหยด เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี 2522 ท่านได้ปีนเขาแล้วเข้าไปเห็นความแปลกและสวยงามของสถานที่นี้ ที่ด้านในเต็มไปด้วยต้นตาด และพันธุ์ไม้มากมาย ต่อมาจึงได้มีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ หรือถ้ำเข้าไปด้านใน