สถานที่ตั้ง

จังหวัด บึงกาฬ อำเภอ อำเภอเมืองบึงกาฬ ตำบล หอคำ 38000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

แก่ง

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

แก่งอาฮง หรือสะดือแม่น้ำโขง เป็นจุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงซึ่งมีความลึก 200 เมตร บริเวณนี้จะมีน้ำจะไหลเชี่ยววนจนเป็นหลุมรูปกรวย หากมีพวกเศษไม้ ใบไม้หรือวัตถุเล็กๆ ติดอยู่จะถูกกระแสน้ำหมุนวนเป็นรูปกรวยประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงหลุดเคลื่อนไปในที่อื่น เมื่อมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาอีกก็จะต่อตัวเป็นรูปกรวยขึ้นมาใหม่เกิดสลับกันไปตลอดทั้งวัน จึงทำให้เชื่อว่าที่นี่คือ จุดที่เป็น สะดือแม่น้ำโขง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี สามารถมองเห็นแก่งอาฮง แก่งหินกลางลำน้ำโขงปรากาฎขึ้นมาเหนือน้ำ กลุ่มหินมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมง

ตำนานความเชื่อ

หลวงพ่อลุน ท่านได้มาสร้างวัดขึ้นท่ามกลางป่าดงเรียกว่า วัดป่าเลไลย ครั้นต่อมาท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.2506 วัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมีเพียงแม่ชีไว อยู่ดูแลรักษา จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 หลวงพ่อมหาสมาน สิริปัญโญ ท่านได้จาริกผ่านมาพบ จึงได้พาคณะสงฆ์และชาวบ้านปฏิสังขรณ์ ภายหลังเสร็จสิ้นท่านจึงตั้งชื่อวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ว่า วัดอาฮงศิลาวาส 
ส่วนความอัศจรรย์ของสถานที่แห่งนี้ที่คือเชื่อว่าเป็นสะดือของแม่น้ำโขง มีถ้ำขนาดใหญ่ที่ทะลุขึ้นไปตามสถานที่ต่างๆเช่น ภูวัว บนฝั่งประเทศลาว และยาวออกไปถึงมหาสมุทร บางคนก็เชื่อว่าถ้ำนี้ทะลุไปยัง คำชะโนด เมืองพญานาคอีกแห่งที่จังหวัดอุดรธานีด้วยบ่อยครั้งเมื่อมีคนจมน้ำเสียชีวิตในแม่น้ำโขงหากญาติๆ หาศพไม่เจอก็มักจะมาเฝ้ารอที่แก่งอาฮงแห่งนี้ ซึ่งหลายศพก็มาโผล่ให้ญาติพี่น้องได้พบ 
จากการวัดระดับความลึกของถ้ำใต้แม่น้ำโขงแห่งนี้สามารถวัดความลึกสูงสุดได้ถึง 200 เมตร ที่สำคัญเราก็ไม่อาจทราบว่าหลังจาก 200 เมตร ไปแล้วถ้ำแห่งนี้จะเลี้ยววกวนไปโผล่ที่ไหนบ้างบนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ นอกจากนั้นที่นี่ยังได้เกิด บั้งไฟพญานาค บางคนอ้างว่าเคยเห็น ลูกไฟโตขนาดเท่าแท้งค์น้ำ พุ่งขึ้นจากใต้ลำน้ำโขงจนเกิดความสว่างไสวราวกับกลางวันจึงนับได้ว่าเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ เป็นสถานที่ท้าทายความเชื่อและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงนั่นเอง

(ที่มา : หนังสือ "คู่มือท่องเที่ยว Unseen อีสาน ประตูสู่ AEC)

ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทแก่ง
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -