สถานที่ตั้ง

จังหวัด สตูล อำเภอ อำเภอละงู ตำบล ปากน้ำ 91110

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

เขตข้ามกาลเวลา เป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านธรณีวิทยา คือเป็นบริเวณที่พบรอยสัมผัสของหินที่มีอายุแตกต่างกัน สองยุค คือหินทรายสีแดงยุคแคมเบรียน อายุประมาณ 541-485 ล้านปี และหินปูนยุคออร์โดวิเชียน อายุประมาณ 485-444 ล้านปี โดยรอยสัมผัสของหินดังกล่าวเกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก มีความชัดเจนมาก สามารถ สังเกตเห็นได้ง่าย มีคุณค่าทางวิชาการสมควรที่จะอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา และจากการ ด าเนินงานร่วมกันระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตข้ามกาลเวลา ณ ปัจจุบันเขตข้ามกาลเวลาได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เชิงธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดสตูล มีการพัฒนา พื้นที่ในหลายด้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ มีการจัดสร้างสะพานเส้นทางศึกษาธรรมชาติผ่านบริเวณเขตข้าม กาลเวลา การตรวจตรารักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และจัดให้มีป้ายสื่อความหมายเพื่อให้ความรู้ด้านธรณีวิทยา (ที่มา: ส่วนอนุรักษ์ธรณีวิทยา สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี) 

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

พบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (Fossil)ของสัตว์ทะเลมากมาย อาทิ หมึกทะเลโบราณ (นอติลอยด์), พลับพลึง ทะเล (ไครนอยด์) และหอยตะเกียง(แบรคิโอพอดส์)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

บริเวณเขาโต๊ะหงายมีแหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่สำคัญคือ เขตข้ามกาลเวลา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความโดดเด่น ทางด้านธรณีวิทยาเป็นอย่างมากกล่าวคือ เป็นบริเวณที่พบรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือ หินทรายสีแดงยุคแคม เบรียน (อายุประมาณ 541– 485 ล้านปี ) และ หินปูน ยุคออร์โดวิเชียน (อายุประมาณ 485-444 ล้านปี) โดย รอยสัมผัสของหินทั้งสองยุคดังกล่าว เป็นรอยสัมผัสที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลก (Fault Contact)ที่มี ความชัดเจนมากและหาดูได้ยาก เสมือนหนึ่งว่าเราสามารถก้าวย่างข้ามกาลเวลาจากยุคแคมเบรียนไปสู่ยุคออร์ โดวิเชียนได้เพียงก้าวเดียวนอกจากนี้บริเวณเขตข้ามกาลเวลายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม มีสะพานซึ่งเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติทอดยาวเลียบชายฝั่งไปจนถึงที่ทำการอุทยาน 

ประเภทการใช้ประโยชน์

เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งความรู้ด้านธรณีวิทยา

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

สะพานโดยรอบ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -