สถานที่ตั้ง
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา อำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตำบล ประตูชัย 13000
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
แหล่งน้ำ
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
บึงพระราม หรือเดิมเรียกว่า หนองโสน หรือ บึงชีชัน เป็นหนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่กลางเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอดีตบึงแห่งนี้เป็นชุมชนโบราณมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยสังเกตจากวัดร้างและสถานที่สำคัญจำนวนมากรอบบึงน้ำนี้ ปัจจุบันบึงพระรามได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวพระนครศรีอยุธยา เป็นบึงที่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และนิทานพื้นบ้าน เป็นบึงขนาดใหญ่กลางเมืองเก่าอยุธยาที่เกิดจากการขุดดินไปถมสร้างวังเเละวัดบริเวณรอบๆ ปัจจุบันอยู่ในสวนสาธาระพระราม (บึงพระรามเป็นบึงใหญ่ที่เข้าใจว่าเป็นหนองโสน ที่มีมาแต่เดิมก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสร้างกรุงฯ นั้นคงจะขุดเอาดินไปถมที่สร้างวังและวัดต่าง ๆ จึงกลายเป็นบึงใหญ่ไป บึงนี้มีชื่อปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่า “ บึงชีขัน” และต่อมาได้เปลี่ยนไปเป็นบึงพระราม)
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
“บึงพระราม” เป็นพื้นที่เดียวกับ “หนองโสน” ในอดีตกาล เมื่อมีการสร้างวัดพระรามขึ้นที่ริมฝั่งตะวันตก ความสําคัญของวัดพระรามที่มี พระมหาธาตุทรงปรางค์เป็นประธานถือเป็นหลักสําคัญตามคติความเชื่อของเมืองโบราณในขนบวัฒนธรรมพุทธเถรวาท บึงพระรามถือเป็นหนึ่งในความสามารถของชาวกรุงศรีอยุธยาด้านการจัดการน้ำ โดยเกาะเมืองจะมีโครงสร้างในการระบายน้ำคือคลองสายต่าง ๆ โดยคลองจะทำหน้าที่ชักน้ำเข้าไปยังบึงพระรามและบึงต่าง ๆ ภายในเกาะเพื่อหล่อเลี้ยงผู้คน โดยจะมีการก่อสร้างประตูน้ำ หากถึงฤดูฝนก็จะมีการเปิดประตูน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านคลองสายต่าง ๆ บนเกาะ หากถึงฤดูน้ำหลากก็จะปิดประตูน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัยบนเกาะเมือง ในบริเวณบึงพระราม มีโบราณสถานที่สำคัญเป็นวัดร้าง ๕ วัด คือ วัดหลังคาดำ วัดหลังคาขาว วัดสังขปัด วัดโพง และวัดไตรตรึงค์ รวมทั้งตึกดิน ซึ่งเป็นที่เก็บกระสุนและดินประสิว ซึ่งมีรูปแบบศิลปะเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เมื่อมีการบูรณะ บึงพระรามครั้งใหญ่ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตึกดินจึงได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ หลังจากนั้น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เรียกกันว่า สวนสาธารณะพระราม
ประเภทการใช้ประโยชน์
- ใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลต่างๆ และจัดตั้งร้านค้าขายอาหาร
- เป็นสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน
ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี