สถานที่ตั้ง

จังหวัด ตาก อำเภอ อำเภอพบพระ ตำบล ช่องแคบ 63160

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

     น้ำตกพาเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งน้ำตกพาเจริญนี้มีต้นน้ำมาจากห้วยนน้ำนักซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี เป็นน้ำตกหินปูนชั้นเล็ก ๆ สามารถนั่งได้ถึง 97 ชั้น นับรวมแล้วจึงเป็นน้ำตกสูงและมีน้ำมาก มีเสน่ห์น่ามอง สวยงามมากมาย สภาพโดยรอบเป็นป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ สามารถพบสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น แมวป่า อีเห็น และนกป่าหลายชนิด น้ำตกพาเจริญอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่  น้ำตกพาเจริญ มีการปรับปรุงแนวเขตใหม่ ทำให้เหลือพื้นที่ประมาณ 491,686 ไร่  น้ำตกแห่งนี้ เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกับน้ำซับบนเขา แล้วไหลเป็นสายน้ำตกลงสู่ด้านล่าง มีลักษณะเป็นชั้นใหญ่ชั้นเดียว และมีชั้นลดหลั่นกันลงมาจำนวนมาก ถึง 97 ชั้น มีน้ำตลอดปีแต่จะสวยงามที่สุดช่วงปลายฤดูฝน น้ำตกพาเจริญ ตั้งอยู่ริมทางหลวงไม่ไกลจากแม่สอด เลยทำให้กลายเป็นจุดที่ต้องแวะเที่ยวและพักผ่อน  บริเวณโดยรอบจะมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญคือต้นกำเนิดของ ห้วยแม่ละเมา ชื่อของน้ำตกนั้น จะตั้งตามชื่อของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่เป็นคนพบน้ำตกคนแรก ชื่อว่า สหายพา ต่อมามีชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ เลยทำให้กลายเป็นชุมชนที่เจริญขึ้นมา เลยเพิ่มคำว่าเจริญต่อท้ายชื่อน้ำตกกลายเป็น น้ำตกพาเจริญ  และยังมีอีกชื่อที่เรียกกันว่า น้ำตกร่มเกล้า 97 ชั้น

 

ตำนานความเชื่อ

บริเวณโดยรอบจะมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญคือต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา ชื่อของน้ำตกนั้น จะตั้งตามชื่อของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่เป็นคนพบน้ำตกคนแรก ชื่อว่า สหายพา ต่อมามีชาวบ้านเข้ามาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ เลยทำให้กลายเป็นชุมชนที่เจริญขึ้นมา

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

    

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

     มีลักษณะเป็นชั้นหินคดโค้งแบบประทุนคว่ำ ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วยหินปูน ที่มีระดับชั้นลดหลั่นกันลงมาถึง 97 ชั้น

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นที่ลาดเชิงเขา ทางตอนบนที่เป็นต้นกำเนิดของน้ำตก มีดอกกระเจียวสีส้ม “ฉัตรทอง”  ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 635 เมตรจากระดับน้ำทะเล
  • น้ำ มีน้ำไหลตลอดปี
  • ขยะ พบเห็นขยะเล็กน้อย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

  • พืชพรรณ สภาพป่าทั่วไปยังคงสมบูรณ์ ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ สนเขา มะม่วงป่า เต็งรัง เหียง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะค่าแต้ แดง ยมหอม ยมหิน เป็นต้น ไม้พื้นล่าง เช่น เฟิร์น บอนป่า กระเจียวป่า เป็นต้น
  • สัตว์ป่า สามารถพบสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น แมวป่า อีเห็นและนกป่าหลายชนิด

 

ประเภทการใช้ประโยชน์

     การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

     ที่นั่ง ร้านค้าสวัสดิการ ลานจอดรถ ห้องน้ำ
 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
คุณค่าความสำคัญ
คุณค่าการใช้ประโยชน์
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีข้อมูล -