สถานที่ตั้ง
จังหวัด สงขลา อำเภอ อำเภอเมืองสงขลา ตำบล เกาะยอ 90100
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
แหล่งน้ำ
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ทะเลสาบสงขลา ทะเลสาบพัทลุง /ทะเลสาบลำปำ เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลามีเกาะอยู่-หลายเกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมาก (ตำบลเกาะหมาก) เกาะนางคำ (ตำบลเกาะนางคำ) และเกาะยอ (ตำบลเกาะยอ) มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่หลากหลายเนื่องจากเป็นที่ไหลรวมจากต้นน้ำลำคลองเล็กๆ มากมายและยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ปริมาณและสภาพน้ำในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามา ในฤดูน้ำหลากประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบจำนวนมากจึงไปผลักดันน้ำเค็มออกสู่อ่าวไทย ในช่วงนี้น้ำในทะเลสาบจะขุ่น และเป็นน้ำจืดแต่เมื่อถึงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบจะมีน้อยน้ำเค็มจะไหลเข้ามาแทนที่ในช่วงนี้ น้ำในทะเลสาบ จะกร่อยจึงเป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ โดยน้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบกับเป็นที่ปักหลักฐานวิถีชีวิตของชาวประมงที่หาปลาในลุ่มน้ำนี้ ทำให้ทะเลสาบสงขลาของที่นี่มีชื่อเสียงพอสมควร
ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบสามน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลามีสภาพทางนิเวศที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมกันของต้นน้ำลำคลองเล็ก ๆ มากมาย และยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ปริมาณและสภาพน้ำ ในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามา ซึ่งในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาบปริมาณมาก จึงพลักดันน้ำเค็มออกสู่ทะเลอ่าวไทย ในช่วงนั้นน้ำในทะเลสาบจะขุ่นและเป็นน้ำจืด แต่เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบมีน้อย ทำให้น้ำเค็มไหลเข้ามาแทนที่จึงส่งผลให้น้ำในทะเลสาบเป็นน้ำกร่อย
ตำนานความเชื่อ
ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ในเขต อ.เมืองสงขลา และทะเลสาบสงขลา จึงเป็นห้วงน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งปลานานาชะนิด ทำการประมงกันอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น การดักโพงพาง ยอ และชีวิตชองชาวเมืองรอบ ๆ ทะเลสาบนอกจากการทำนา แล้ว ก็มี การทำประมงและสินค้าสำคัญที่เก็บเกี่ยวจากการทำประมงในทะเลสาบสงขลานี้ ส่งไปขายที่กรุงเทพฯหลายอย่าง เช่น กุ้งแห้ง กุ้งเสียบไม้ ข้าวเกรียบ กุ้ง ข้าวเกรียบปลา มันกุ้ง เคย หรือ กะปิ ฯลฯ จังหวัดสงขลา นอกจากทรัพยากรณ์ทางน้ำแล้วนั้น ทะเลสาบยังมีแหล่งเก็บรังนกนางแอ่น ไข่เต่า เกิดจากเกาะรังนกและริมบึงทะเลสาบรอบๆ บึงทะเลสาบมีธรรมชาติสวยสดงดงาม มีภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน บ้างมีพรรณไม้เขียวขจี มีต้นมะพร้างขึ้นชุกชุมในทะเลสาบเกาะใหญ่ ๆ มีที่เที่ยวได้สนุก ทะเลสาบสงขลามีการกล่าวถึงมาตั้งแต่สมัยหลายร้อยปีมาแล้วตามบันทึก
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกับจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้า
พืชและสัตว์ที่พบในทะเลสาบสงขลามีทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็มใกล้เคียงกับน้ำทะเล กลุ่มน้ำกร่อยซึ่งสามารถทนความเค็มในช่วงกว้างและกลุ่มน้ำจืด ความหลากหลายทางชีวภาพโดยรวมจึงมีมาก แม้ว่าบางชนิดอาจมีจำนวนน้อย มีทั้งแบบอาศัยอยู่ประจำและแบบอพยพมาจากทะเลเพื่อหาอาหารเป็นครั้งคราว ตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลงพัดพาไป เช่น แพลงก์ตอนบางชนิด หรือเข้ามาด้วยตัวเองตามฤดูกาล เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบสามน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลามีสภาพทางนิเวศที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นที่ไหลรวมกันของต้นน้ำลำคลองเล็กๆ มากกมาย และยังมีทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ปริมาณและสภาพน้ำในทะเลสาบขึ้นอยู่กับน้ำจืดที่ไหลลงมาและน้ำเค็มจากทะเลหนุนเข้ามา ซึ่งในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลสาปปริมาณมาก จึงผลักดันน้ำเค็มออกสู่ทะเลอ่าวไทย ในช่วงนั้นน้ำในทะเลสาบจะขุ่นและเป็นน้ำจืด แต่เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลสาบมีน้อย ทำให้น้ำเค็มไหลเข้ามาแทนที่จึงส่งผลให้น้ำในทะเลสาบเป็นน้ำกร่อย ซึ่งทะเลสาบสงขลาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ทะเลน้อย
มีพื้นที่ประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร เป็นทะเลสาบน้ำจืด บริเวณนี้มักพบพืชน้ำนานาชนิดและมีพื้นที่ป่าพรุขนาดใหญ่
2. ทะเลสาปตอนบน (ทะเลหลวง)
อยู่ถัดจากทะเลน้อยลงมา มีพื้นที่ประมาณ 473 ตารางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ย 2 เมตร ในอดีตเป็นท้องน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่พบว่ามีการบุกรุกเข้ามาของน้ำเค็มค่อนข้างสูงในฤดูแล้ง
3. ทะเลสาบตอนกลาง (ทะเลสาบ)
อยู่ถัดจากทะเลสาบตอนบน มีพื้นที่ประมาณ 360 ตารางกิโลเมตร ความลึกประมาณ 2 เมตร มีเกาะมากมาย เช่น เกาะสี่ เกาะห้า เกาะนางคำ พื้นที่ส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด จึงทำให้มีสภาพเป็นทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในช่วงที่เป็นน้ำจืดจะมีพืชปกคลุมโดยทั่วไป
4. ทะเลสาบตอนล่าง (ทะเลสาบสงขลา)
เป็นส่วนของทะเลสาบส่วนนอกสุดที่เชื่อมต่อกับทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 182 ตารางกิโลเมตร ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ยกเว้นช่องแคบที่เชื่อมกับอ่าวไทย ซึ่งใช้ในการเดินเรือ มีความลึกประมาณ 12-14 เมตร ทะเลสาบส่วนนี้เป็นบริเวณที่มีน้ำเค็ม แต่บางส่วนในฤดูฝนน้ำกร่อย และได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง บริเวณนี้มีการวางเครื่องมือประมงประเภทไซนั่งและโพงพางเกือบทั่วทะเลสาบ
ประเภทการใช้ประโยชน์
- เป็นที่ปักหลักฐานวิถีชีวิตของชาวประมงที่หาปลาในลุ่มน้ำ
- สถานที่เพาะพันธุ์ปลา
- เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาสภาพธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ลุ่มน้ำ
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
น้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจากทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรีจากอำเภอสะเดา ทั้งหมดไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำในแถบนี้เรียกว่า "ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลสาบที่มีลักษณะของน้ำในทะเลสาบถึง 3 น้ำ คือ น้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม มีแม่น้ำและคลองหลายสายที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบแห่งนี้ ทำให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามฤดูกาล โดยขึ้นอยู่กับกระแสน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบ และกระแสน้ำทะเลหนุน จึงทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา
ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี