สถานที่ตั้ง

จังหวัด ขอนแก่น อำเภอ อำเภอเวียงเก่า ตำบล ในเมือง 40150

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

เป็นแหล่งรอยตีนไดโนเสาร์หลายชนิดมากกว่า 60 รอย เป็นแนวทางเดินหลายทิศทาง รอยตีนประทับอยู่บนหินทรายเนื้อละเอียด      สีขาว ผิวหน้ามีรอยริ้วคลื่น และรอยรูหนอน (white fine grained sandstone with ripple marks and burrows)

ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆ เป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

รอยตีนพบในหินทรายละเอียดถึงหยาบในหมวดหินพระวิหาร สีขาว ลักษณะของรอยตีนประกอบด้วยนิ้ว 3 นิ้ว คล้ายรอยตีนนก ที่ปลายนิ้วมีร่องรอยเล็บแหลมคม แสดงลักษณะของสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivorous animal) เดินด้วยสองขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไวขนาดรอยเท้ายาวประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก (small carnivorous dinosaur) ตระกูลซีลูโรซอร์ (coelurosaur)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆ เป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -