สถานที่ตั้ง
จังหวัด เพชรบูรณ์ อำเภอ อำเภอวิเชียรบุรี ตำบล พุเตย 67180
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
โป่งพุร้อน
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
พื้นที่เคยเป็นป่าเตยทั้งหมดและมีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะ ที่มีน้ำร้อนผุดขึ้นมา
ตำนานความเชื่อ
พื้นที่น้ำร้อนผุดหรือพุน้ำร้อนที่มีต้นเตยหอมขึ้นอยู่มาก ชาวบ้านเมื่อทราบว่าบริเวณนี้มีแหล่งน้ำผุด จึงนิยมนำสัตว์มาเลี้ยง เช่น วัว ควาย ม้า และได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จนเกิดการตั้งบ้านเรือนขึ้นรอบบ่อน้ำร้อนพุเตย เมื่อกลุ่มคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนเกิดการขยายตัวของประชากรมากขึ้น พื้นที่บริเวณนี้จึงพัฒนาเป็นตลาดขนาดย่อม และถือเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งของบ้านพุเตยในอดีต ประมาณปี พ.ศ. 2500 ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันตั้งศาลไทยขนาดเล็กบริเวณใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ทางทิศเหนือของบ่อน้ำร้อนพุเตย ต่อมาเมื่อราษฎรเชื้อสายจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นศาลเจ้าจีนขนาดเล็กเมื่อปี พ.ศ. 2513 - 2514 กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2547 ได้สร้างศาลเจ้าจีนขนาดใหญ่ หรือ “ศาลเจ้าพ่อพุเตย” และกำหนดให้มีงานบวงสรวงเจ้าพ่อพุเตย และบ่อน้ำพุร้อนในเดือนพฤศจิกายนเป็นประจำทุกปี ส่วนในพื้นที่บ่อน้ำร้อนก็จัดตั้งศาลบรรพบุรุษ และให้มีการบวงสรวงเป็นประจำทุกปีเช่นกัน
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
สภาพอุทกธรณีวิทยาโป่งพุร้อนบ้านพุเตย คาดว่าเป็นหินอัคนีพุ หรือหินทราย ที่มีรอยแตกขนาดใหญ่เกิดจากรอยเลื่อนในแนว ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ โป่งพุร้อนบ้านพุขาม และ บ้านวังขาม อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ผิวดินประมาณ 32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำ
ประเภทการใช้ประโยชน์
- ใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวเที่ยวเพื่อสุขภาพ
- สร้างสวนสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ในด้านออกกำลังกาย
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
- อาคารออกกำลังกาย และพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย วิ่ง เดิน
- อาคารสำนักงานและให้บริการนวด
- อาคารให้บริการนวดและสปา
- ห้องให้บริการออกกำลังกาย
- ห้องน้ำ ชาย-หญิง ห้องน้ำผู้พิการ
- ป้ายบอกทาง
- ถังขยะ/การจัดการขยะ
- การจัดการน้ำเสีย