สถานที่ตั้ง
จังหวัด ตาก อำเภอ อำเภอแม่สอด ตำบล แม่กาษา 63110
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
โป่งพุร้อน
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
โป่งพุร้อนแม่กาษา หรือน้ำพุร้อนแม่กาษา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นน้ำพุขนาดเล็กที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา และไร่ นา สวนของชาวบ้าน มีความร้อนประมาณ 70-80 องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนที่พุ่งออกมาผสมกับน้ำผิวดินที่เป็นน้ำเย็น เกิดเป็นธารน้ำอุ่น มีกลิ่นกำมะถันออ่นๆ และไอน้ำรอยขึ้นมา ตาน้ำร้อนมีหลายแห่ง ชาวบ้านนำหินไปวางล้อมรอบที่ปากบ่อ ซึ่งจะมีน้ำผุดขึ้นมา จึงนำไข่ไปต้ม
น้ำพุร้อนแม่กาษา บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงตกแต่งสนามหญ้าและสวนหย่อม มีบ่อน้ำแร่ให้แช่เท้า และมีห้องอาบน้ำแร่ น้ำพุร้อนแม่กาษา เป็นแหล่งน้ำพุที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงและไร่นาของชาวบ้าน น้ำผุดขึ้นมาจากดิน มีความร้อนประมาณ 70-80 องศา เซลเซียส ธารน้ำร้อนที่พุ่งออกมาผสมกับน้ำจากผิวดินที่เป็นน้ำเย็น เกิดเป็นธารน้ำอุ่น มีกลิ่นกำมะถันอ่อนๆ และไอน้ำลอยขึ้นมา ปริมาณความร้อนของน้ำพุร้อนสามารถใช้สำหรับในการต้มไข่ได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้ทดสอบสมรรถนะและศักยภาพของน้ำพุร้อน
ตำนานความเชื่อ
ในอดีตกาลเมื่อครั้งเกิดสงคราม มีเจ้าเมืองอยู่เมืองหนึ่งแพ้สงคราม จึงต้องพาครอบครัวอพยพหนีข้าศึก เจ้าเมืองมีลูกชาย 6 คน ลูกสาว 1 คน ชื่อว่า แม่อุษา เนื่องจากแม่อุษาท้องแก่มาก จำเป็นต้องหยุดพักเป็นระยะ ๆ ผนวกกับมีสัมภาระข้าวของเงินทองมากมาย จึงทำให้การเดินทางต้องล่าช้า เมื่อมาถึงถ้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผู้เป็นบิดา เห็นว่า ยังมีข้าศึกไล่ประชิดเข้ามาทุกที เกรงว่าจะหนีไม่รอดกันทั้งหมด ก็เอ่ยปากว่า "ถ้าหอบข้าวของหนีต่อไปก็คงจะไม่ไหว จะมีใครไหมที่จะอาสาเฝ้าถ้ำนี้ตลอดไป " แม่อุษาได้ยินดังนั้นก็คิดว่า ตัวเองนั้นท้องแก่เต็มที่หากตัวเองเดินทางต่อไปก็จะเป็นภาระให้พ่อแม่และพี่ๆ จึงตัดสินใจแล้วบอกผู้เป็นบิดาว่า “ถ้าพ่อเห็นควรอย่างนั้นลูกก็ขออาสา”เจ้าเมืองจึงใช้มีดดาบฟันคอแม่อุษาจนขาด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่อุษาจึงคอยระวังรักษาสมบัติต่างๆ อยู่ในถ้ำแห่งนั้น และมีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ถ้าหากใครต้องการของสิ่งใดก็สามารถขอยืมออกไปจากถ้ำได้ แต่ต้องนำมาคืน ครั้งแรก ๆ ชาวบ้านหยิบยืมไปก็นำมาคืน แต่พอระยะหลังก็นำมาคืนบ้างไม่คืนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้คืนมากกว่า แม่อุษาก็เลยโกรธจึงปิดปากถ้ำจนไม่สามารถเข้าไปได้ ถ้ำนั้นก็เลยได้ชื่อว่าถ้ำแม่อุษา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ บริเวณไม่ไกลจากโป่งพุร้อนแม่กาษายังมีน้ำตกหินปูนแม่กาษา
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน และมีรอยเลื่อนหลักในแนวเหนือ-ใต้ เห็นเป็นแนวหน้าผาชันของเขาหินปูน ซึ่งรอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดรอยแตกขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปยังแอ่งน้ำร้อนใต้ดินในระดับลึก อุณหภูมิของน้ำร้อนที่ผิวดินประมาณ 75 องศาเซลเซียส และมีอัตราการไหลของน่้ำพุร้อน ประมาณ 1,500 ลิตรต่อนาที
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
น้ำพุร้อนแม่กาษา ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อยู่หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ห่างจากอำเภอแม่สอด 26 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ถนนสายแม่สอด – แม่ระมาด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ระมาด
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่ปะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพะวอ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ประเภทการใช้ประโยชน์
- เปิดให้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น อาบน้ำแร่ แช่น้ำอุ่น
-
โครงการพัฒนา
- สหกรณ์บริการการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนแม่กาษา เดิมเป็นที่ดินของนิคมสหกรณ์ ที่จัดสรรพื้นที่ทำกินให้กับชาวบ้านมาก่อน ต่อมาได้งบมาพัฒนาและดูแลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กาษา แล้วจึงส่งมอบให้ชาวบ้านหมู่ 11 ตำบลแม่กาษา ชาวบ้านเลยจัดตั้งเป็น “สหกรณ์บริการการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนแม่กาษา จํากัด” เพื่อเข้ามาดูแลและให้บริการ
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
- อาคารแช่เท้า
- อาคารอาบน้ำ
- ห้องพักรับรองนักท่องเที่ยว
- ห้องน้ำชาย-หญิง ผู้พิการ
- ที่นั่งแช่เท้าตามแนวทางน้ำไหลภายในสวนสาธารณะ
- ศาลาพักร้อน ที่นั่งเล่น
- ร้านค้า ร้านอาหาร