สถานที่ตั้ง
จังหวัด เชียงราย อำเภอ อำเภอเมืองเชียงราย ตำบล บ้านดู่ 57100
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
โป่งพุร้อน
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
น้ำพุร้อนโป่งพระบาท น้ำพุร้อนโป่งพระบาท ตั้งอยู่บ้านโป่งพระบาท ม.6 ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานานแล้ว ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิม บริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง อุณหภูมิระหว่าง 42-45 องศา ทำให้การหมุนเวียนขอโลหิตในร่างกายดีขึ้น น้ำร้อนจะขยายรูขุมขนทำให้ร่างกายขับสิ่งสกปรกปะปนมากับเหงื่อได้ดีจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นหลังจากการแช่น้ำร้อน นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อกระดูกกล้ามเนื้อและกำมะถันที่อยู่ในน้ำพุร้อนจะช่วยรักษาโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี แต่น้ำร้อนที่พบในบ้านดู่ไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และซัลไฟด์สูงกว่ามาตรฐานน้ำแร่เพื่อการบริโภค
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
ได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยสำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 (เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา และอุณหภูมิใต้ดินสูงประมาณ 125-156 องศา มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และซัลไฟด์สูง
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
พื้นที่ - มีการเทพื้นด้วยซีเมน์คลุมทั่วบริเวณที่มีน้ำพุร้อนทุกจุด ซึ่งไม่มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ น้ำพุร้อน - น้ำใส ไม่มีกลิ่นกำมะถัน มีอุณหภูมิประมาณ 53.6 องศาเซลเซียส ภูมิทัศน์ - มีการประดับตกแต่ง ด้วยรูปปั้นไดโนเสาร์ซึ่งไม่มีความกลมกลืนกับสภาพพื้นที่ นอกจากนี้สีสันของรูปปั้น และบ่อยังไม่เหมาะสมทำให้เกิดทัศนะอุจาด
ประเภทการใช้ประโยชน์
- ใช้เพื่อบำบัดรักษาโรค เช่น อาบและแช่น้ำพุร้อนเพื่อบำบัดรักษาโรคต่างๆ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
- เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ
- เป็นสถานท่ีเรียนรู้ศึกษาการเกิดโป่งพุร้อน
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
- ทัศนียภาพขาดความเป็นธรรมชาติ มีลักษณะการจัดการพื้นที่แบบสวนสนุก
- ปริมาณพื้นดาดแข็งมากไม่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ โดยมีการก่อขอบบ่อ และสร้างพื้นดาดแข็งปกคลุมดินรอบบ่อทั้งหมด และพื้นที่โดยรอบมีการเทคลุมพื้นที่ด้วยคอนกรีดทั้งหมด
- ไม่มีการจัดลำดับการเข้าถึงโป่งพุร้อน
- ตำแหน่ง/ลักษณะการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวก และอาคาร ไม่เหมาะสม เนื่องจากส่วนบริการอยู่ใกล้กับบริเวณโป่งพุร้อนมาก
โครงการพัฒนา
โครงการพัฒนา
1. ลานจอดรถ 2. อาคารแช่ตัว 3. ห้องสุขา 4. ศาลาเอนกประสงค์
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
1. ลานจอดรถ 2. อาคารแช่ตัว 3. ห้องสุขา 4. เครื่องออกกำลังกาย 5 ศาลาเอนกประสงค์ 6. บ่อบำบัดน้ำทิ้ง 7. จุดจำหน่ายร้านค้าร้านอาหาร และจำหน่ายของฝาก ของที่ระลึก
- การออกแบบอาคาร/สิ่งก่อสร้างมีความขัดแย้ง โดยเฉพาะการใช้วัสดุและสี ขาดความกลมกลืนกับธรรมชาติมาก เช่น ขอบบ่อทาสีแดง การใช้วัสดุประเภทกระเบื้อง เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้นที่มีสีสันฉูดฉาด อาคารมีขนาดใหญ่ และบดบังทัศนียภาพและมีความระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ
แหล่งน้ำพุร้อนกลางแจ้ง มีสระน้ำและบริการเสริม เช่น บริการนวดแผนโบราณ