สถานที่ตั้ง

จังหวัด นครพนม อำเภอ อำเภอท่าอุเทน ตำบล นางัว 48140

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

 ถ้ำนาคี มีลักษณะเป็นเพิงหินขนาดใหญ่และมีลวดลายของเกล็ดพญานาคบนพื้นผิวของหิน (คล้ายถ้ำนาคา) มีก้อนหินใหญ่ลักษณะเหมือนหินหัวงูอยู่ไม่ไกลกัน มีจุดชมวิว “ผานาคี” เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่งดงาม จุดท่องเที่ยวถ้ำนาคี ไข่พญานาค เศียรพยานาค เป็นจุดท่องเที่ยวที่อยู่ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติสายใหม่ ภูลังกาเหนือ หรือ เส้นทางสายธรรม-สายพญานาค (ระยะทางประมาณ 12 กม.) ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปนาคปรก    เนื้อหยกสีเขียว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นักเดินทางมักเข้ามากราบไหว้ทุกครั้งที่มาเยือนถ้ำแห่งนี้ 

ถ้ำนาคี เป็นเส้นทางในการเดินเที่ยวชมจะมีระยะทาง ไป-กลับ ประมาณ 3 กิโลเมตร. ที่เป็นเส้นทางเชื่อมไปยังน้ำตกตาดโพธิ์ ทางเดินช่วงแรกจะเป็นพื้นปูนทางราบ แล้วก็สลับกับทางขึ้นลงทางธรรมชาติ เดินชมธรรมชาติป่าไม้ไปเรื่อย ๆ

ตำนานความเชื่อ

ในอดีตไม่เพียงเป็นเทือกเขาที่มีตำนานลี้ลับ ทั้งตำนานราชาที่ถูกสาปเป็นหิน, ตำนานแห่งดินแดนเมืองบังบด หรือเมืองลับแล, ตำนานเมืองพญานาค, ตำนานดินแดนประสูติพระเจ้า 5 พระองค์, ดินแดนสนามรบกิเลสของเถราจารย์ชื่อดังหลายรูป, ตำนานอาถรรพ์อันศักดิ์สิทธิ์ และดินแดนสมุนไพรในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์

ตำนานราชา ที่ถูกพญานาค สาปเป็นหิน มาจากตำนานความเชื่อชาวบ้านในท้องถิ่น โดยจะกล่าวถึง "เจ้าปู่อือลือ" ที่ข้องเกี่ยวกับ "ถ้ำนาคา" และ "ถ้ำนาคี" ว่าเกิดจากการล่มสลายเมืองของพญานาค โดยมีสาเหตุมาจากความรักที่ไม่สมหวังระหว่างพญานาคกับมนุษย์ ทำให้เมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองต้องล่มสลาย โดยเชื่อกันว่าเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองชื่อ "รัตพานคร" อันมีพระอือลือราชา เป็นผู้ครองนคร ส่วนมเหสี ชื่อ "นางแก้วกัลยา" มีพระธิดา ชื่อ "พระนางเขียวคำ" ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสามพันตา มีพระโอรส ชื่อ "เจ้าชายฟ้ารุ่ง" ต่อมา "เจ้าชายฟ้ารุ่ง" ได้อภิเษกสมรสกับ "นาครินทรานี" ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราช แห่งเมืองบาดาล ที่แปลงกายมาเป็นมนุษย์ โดยจัดงานเฉลิมฉลองถึง 7 วัน 7 คืน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคราชกับพระเจ้าอือลือราชา หลังสมรสทั้งสองอยู่กินกันเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่สามารถมีผู้สืบสายสกุลได้ เพราะธาตุมนุษย์ ทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสอง ต่อมาเจ้าหญิงนาครินทรานี ล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายมนุษย์กลับกลายเป็นพญานาคตามเดิม เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไป ประชาชน และพระเจ้าอือลือ ไม่พอใจ จึงขับไล่ นางนาครินทรานี กลับสู่เมืองบาดาลดังเดิม  จากนั้นพระเจ้าอือลือ ได้แจ้งให้พญานาคราช มารับตัว นางนาครินทรานี กลับไป แต่ก่อนกลับ พญานาคราช ได้ขอเครื่องกกุธภัณฑ์ของตระกูลคืน แต่พระเจ้าอือลือราชา ไม่สามารถคืนให้ได้ เนื่องจากนำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่นแล้ว ทำให้พญานาคราช โกรธมาก จึงประกาศว่าจะทำลายเมืองรัตพานคร พร้อมยกพลมาถล่มเมืองรัตพานครจนราบคาบเป็นหน้ากลอง และไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์ของนาคได้ ส่งผลเมืองรัตพานคร ถูกถล่มจมหายกลายเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ส่วนเมืองรัตพานคร กลายเป็น "บึงหลงของ" โดยสาเหตุที่ได้ชื่อนี้ เพราะพระอือลือราชา ได้ปิดบังลุ่มหลงเอาสมบัติทรัพย์สินของคนอื่นมาเป็นของตน และเวลาต่อมาได้เพี้ยนกลายเป็น บึงโขงหลง ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในตำนาน กล่าวไว้ว่า พระอือลือราชา รวมถึงบริวารบางส่วนไม่ได้สิ้นพระชนม์ไปกับเหตุการณ์นี้ แต่ถูกพระยานาคราช จับตัว พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชา กลายร่างเป็นนาค เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลง ชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมีเมืองเกิดใหม่ในดินแดนแห่งนี้ จึงจะล้างคำสาปของพระยานาคราช ได้ ทำให้ ชาวบ้านเชื่อว่าก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายพญานาค คือ พระอือลือราชา ที่ถูกสาปให้เป็นงูใหญ่แล้วกลายเป็นหิน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ถ้ำนาคี" เจ้าหน้าที่อุทยานและทีมนักสำรวจค้นพบความอัศจรรย์ของหินภูเขา ที่มีรูปร่างคล้ายเกล็ดงู ซึ่งไม่แตกต่างจากถ้ำนาคาที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ทางฝั่ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ โดย ถ้ำนาคี ที่มีการค้นพบ อยู่ทางฝั่ง อ.บ้านแพง จ.นครพนม ซึ่งเป็นเทือกเขาลูกเดียวกัน หากจะเปรียบเทียบกันให้เข้าใจ คือ ทั้งสองถ้ำอยู่คนละฝั่งกัน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา จึงตั้งชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำนาคี" ที่สำคัญยังความสวยงามไม่แพ้กัน และยังเชื่อมโยงกับตำนานความเชื่อของถ้ำทั้งสองแห่ง คือ พญานาค หรืองูยักษ์ ที่ถูกสาปให้กลายเป็นหิน เพราะมีรูปร่างลักษณะคล้ายงูยักษ์ ซึ่งคดเคี้ยวไปตามหุบเขา โดยมีเกล็ดหินสวยงามลงตัว บางจุดมีลักษณะคล้ายหัวงูยักษ์ จนกลายเป็นที่สนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยว อีกทั้งการเดินเท้าจากที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูลังกา ไปถ้ำนาคี เพียง 2 กิโลเมตร

ประเภทการใช้ประโยชน์

เป็นแหล่งท่องเที่ยว 

แหล่งศึกษาเส้นทางธรรมชาติ

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

- มีป้ายเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับผืนป่า แมลง และสมุนไพร

- ระหว่างทางมีศาลาพัก  และห้องน้ำ 

- มีถนนลาดยางที่เดินเข้าไปชมแหล่งธรรมชาติสะดวก และบางจุดมีบันไดทางเดินเข้าถึงแหล่งธรรมชาติ เป็นส่ิงก่อสร้างที่อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้เข้าชมถ้ำนาคี  

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -