สถานที่ตั้ง

จังหวัด พิษณุโลก อำเภอ อำเภอชาติตระการ ตำบล ชาติตระการ 65170

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        น้ำตกขนาดกลาง ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 339,375 ไร่ มีน้ำตก 7 ชั้น น้ำไหลตลอดปี หน้าผาบริเวณน้ำตกมีสีสันแตกต่างกัน โดยเฉพาะน้ำตกชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่มีความงดงามมาก ลักษณะน้ำตกเป็นม่านไหลลงมาสู่หน้าผา กว้างเกือบ 20 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำกว้าง มีลานหญ้าข้างน้ำตกให้นั่งเล่น 
        การตั้งชื่อชั้นน้ำตก ตั้งตามชื่อของธิดาท้าวสามมนต์ในวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ชั้นที่ 1 ชื่อ "มะลิวัลย์" เป็นน้ำตกที่ตกจากช่องผาสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกจะตกมาจากธารน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นแอ่งวงกลมพื้นที่ประมาณครึ่งไร่ และบริเวณริมแอ่งน้ำเป็นหาดทรายเล็กๆ สวยงามมาก ชั้นที่ 2 ชื่อ "กรรณิการ์" ลักษณะของน้ำตกไหลจากช่องเขาผ่านหน้าผาใหญ่ตกลงมาและนำไปสู่ชั้นที่ 1 ชั้นนี้จะอันตรายมาก ไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ เพราะน้ำที่ไหลออกมาจากหน้าผาจะไหลวนลงรูเพื่อไหลไปออกหน้าผาชั้นที่ 1 ชั้นที่ 3 ชื่อ "การะเกด" มีความสวยงามพอสมควร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก สูงประมาณ 10 เมตร ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ แต่สามารถใช้เป็นจุดพักผ่อนได้เป็นอย่างดี น้ำตกชั้นที่ 4 ชื่อ "ยี่สุ่นเทศ" มีความสวยงามคล้ายกับชั้นที่ 1 น้ำตกมีลักษณะเป็นม่านน้ำกว้างตกลงมาบนธารน้ำกว้าง มีแอ่งน้ำกว้างใหญ่น่าลงเล่นน้ำ และมีหาดทรายที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นอย่างมาก น้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อ "เกศเมือง" ชั้นที่ 6 ชื่อ "เรืองยศ" และชั้นที่ 7 ชื่อ "รจนา" ทั้ง 3 ชั้น เป็นน้ำตกเล็ก น้ำจะไหลรินแบบช้าๆ เอื่อยๆ ทอดตัวยาวเป็นสายน้ำ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่น่าหลงใหล

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ลักษณะทางธรณีวิทยา ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วย หินทราย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ลักษณะภูมิประเทศ บริเวณด้านบนพื้นที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกชาติตระการ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน คือเทือกเขาลม และเขาอ่างน้ำ เกิดน้ำตกในจุดที่สันเขาทั้งสองมาบรรจบกันเป็นหน้าผา
  • น้ำ ฤดูฝนน้ำจะแรงและอุ่น 
  • ขยะ ไม่พบเห็นขยะบริเวณน้ำตก

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

  • พืชพรรณ สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเต็งรัง อยู่ในบริเวณสภาพดินค่อนข้างต่ำ เป็นดินลูกรัง พรรณไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง ประดู่ พะยอม เป็นต้น และป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ในบริเวณริมลำธารและพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง กระบาก ก่อ มะม่วงป่า มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย และไผ่ต่าง ๆ เป็นต้น
  • สัตว์ป่า สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กระจง กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์

         การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        มีการสร้างบ้านพัก ลานจอดรถ บันได เส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณน้ำตก

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
คุณค่าการใช้ประโยชน์
ผลกระทบที่พบเห็น
สิ่งอำนวยความสะดวก
อื่นๆ
- ไม่มีข้อมูล -