สถานที่ตั้ง

จังหวัด เพชรบูรณ์ อำเภอ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบล นาป่า 67000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เป็นน้ำตกสูงบนหน้าผาที่มีหมอกปกคลุมตลอดเวลา กระแสน้ำจะทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาอันสูงชันประมาณ 200 เมตร สู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง แล้วไหลลงมาบรรจบกับกระแสน้ำที่ไหลมาจากน้ำตกสองนาง ตรงบริเวณชั้นที่ 2 ของน้ำตกสองนางกลายเป็นลำห้วย ในช่วงฤดูฝนความชุมชื่นของอากาศค่อนข้างสูงก่อให้เกิดพืชชั้นต่ำจำพวก มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ ขึ้นปกคลุมโขดหินต่างๆ สวยงาม เส้นทางเดินเท้าเข้าสู่ตัวน้ำตกต้องเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยบก ซึ่งสองข้างทางหนาแน่นไปด้วยป่าไม้ตลอดจนพันธุ์ไม้เลื้อยนานาชนิด เหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติ 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ลักษณะทางธรณีวิทยา ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วย หินแกรนิต

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        ลักษณะภูมิประเทศ อยู่ในแนวเทือกเขาสลับซับซ้อน บนเทือกเขาเพชบูรณ์ ลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ที่เป็นลักษณะของร่องเขา ตัวน้ำตกตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 840 เมตรจากระดับน้ำ ทะเลปานกลาง ต้นกำเนิดลำน้ำมาจากเขาตาดหมอก
        น้ำ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
        ขยะ ไม่พบเห็นขยะในเส้นทาง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ ประกอบด้วยป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้เด่น เช่น ตะเคียน ยาง แดง สัก ก่อ ประดู่ ตะแบก ไผ่ เป็นต้น และพืชพื้นล่าง เช่น มอส เฟิร์น และตะไคร่น้ำ เป็นต้น
        สัตว์ป่า เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาชนิดต่าง ๆ

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        ป้ายบอกทาง ที่นั่งพักที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีข้อมูล -