สถานที่ตั้ง

จังหวัด สุราษฎร์ธานี อำเภอ อำเภอพนม ตำบล คลองศก 84250

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขาหินปูน ยอดแหลมที่มีแนวหน้าผาสูงชัน กลางสายน้ำของเขื่อนเชียวหลาน

ตำนานความเชื่อ

ประวัติตำนานความเป็นมาเกี่ยวข้องกับบ้านศก ซึ่งเดิมมีชื่อว่า “บ้านศพ” ตั้งอยู่ในตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎรธานี ต่อมาท่านขุนคีรีรัฐนิคม นายอำเภอคีรีรัฐนิคม ซึ่งในสมัยก่อนอำเภอพนม ยังเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอคีรีรัฐนิคม ได้เปลี่ยนชื่อจากศพมาเป็นศก และได้เรียกชื่อว่าศกมาจนทุกวันนี้ ที่เรียกว่าศพนั้นเนื่องจากมีเขาที่บ้านศกลูกหนึ่งรูปร่างคล้ายยักษ์นอนตาย ชาวบ้านเรียกว่า "เขาพันธุรัตน์ "

 

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

-

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ธรณีวิทยา    ธรณีวิทยาเรียกว่าคาร์สต์ (Karst Topography) ที่กำเนิดจากหินปูนซึ่งเกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ถูกน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อนๆ ละลายลงอย่างช้าๆ นับล้านๆ ปี จนสึกกร่อนเกิดเป็นสภาพดังกล่าวขึ้น
ลักษณะภูมิประเทศ    จุดสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 961 เมตร โดยเฉลี่ยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาดิน และภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อนทางด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมดเป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา โดยเฉพาะช่องแคบเขากาเลาะ มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนทางธรณีวิทยาเรียกว่า คาร์สต์ (Karst Topography) ที่มียอดแหลมระเกะระกะ มีแนวหน้าผาสูงชันบางแห่งเป็นแท่งสูงขึ้นไปในอากาศคล้ายหอคอยสูง ที่ราบมีไม่มาก
ดิน    ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทรายมีสีแดงดิน มีความเป็นกรดสูงสามารถอุ้มน้ำ ได้มาก แต่จะถูกกัดเซาะได้ง่าย บางแห่งเป็นดินลูกรังแต่มีส่วนน้อย
น้ำ    ป่าต้นน้ำลำธารของคลองศกและคลองพะแสง
ขยะ    -
ภูมิทัศน์    ภูเขาดิน และเขาหินปูน ยอดแหลม แนวหน้าผาสูงชันพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาสกด้านทิศเหนือเกือบทั้งหมดเป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน
รัชชประภา ซึ่งสร้างปิดกั้นคลองพะแสง มีขนาดใหญ่ประมาณ 168 ตารางกิโลเมตร ก่อให้เกิดเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 162 เกาะ พื้นที่ประมาณ 14.06 ตารางกิโลเมตร

 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ    ป่าดงดิบชื้น ซึ่งพบเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ส่วนมากกระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก มีเรือนยอดต่อเนื่องจากชั้นบนสุดลงมาถึงพื้นดิน พันธุ์ไม้ที่พบสำคัญได้แก่ ยางเสียน นาคบุตร ตะเคียนทอง จิกเขา ไข่เขียว ตาเสือ ตังหนใบใหญ่ สะตอ คอแห้ง เสียดช่อ เต้าหลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ปาล์มช้างไห้ หวายเดา เร่ว และปุด เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นสันเขาและหน้าผาหินปูนจะพบสังคมพืชของ ป่าเขาหินปูน พืชพรรณที่สามารถขึ้นอยู่ได้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่ทนแล้ง รวมไปถึงพืชล้มลุกที่มีระบบรากยึดเกาะตามหน้าผาได้ดี จากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาสก จึงเป็นแหล่งรวมพืชหายากและพืชเฉพาะถิ่น เช่น บัวผุด หมากพระราหู ปาล์มเจ้าเมืองถลาง รองเท้านารีเหลืองกร เอื้องฝาหอย มหาสดำ สังวาลย์โนรี เป็นต้น บางส่วนของพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองศกเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่ารอยต่อของการกระจายพันธุ์พืช เช่น แดง ยวนแหล และตะเคียนชันตาแมว
สัตว์ป่า    อุทยานแห่งชาติเขาสกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 415 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์ป่าสงวน เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้งหม้อ และแมวลายหินอ่อน นอกจากนี้มีสัตว์อื่นๆ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว เสือลายเมฆ หมีขอ ค่างดำ ชะนีธรรมดา ไก่ป่า นกคุ่มอกลาย นกเขาหลวง นกต่างๆ เป็นต้น ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภา และแหล่งน้ำต่างในอุทยานแห่งชาติเขาสก อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดมากมายหลายชนิด เช่น ปลาแปป ปลาแกง ปลาหนามหลัง ปลาใบไม้ ปลาสร้อย ปลาเล็บมือนาง ปลาปากใต้ ปลารากกล้วย ปลาหมูจุด เป็นต้น 

ประเภทการใช้ประโยชน์

อุทยานแห่งชาติเขาสก แพที่พักนักท่องเที่ยว และเขื่อนรัชชประภา

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

มีการเข้าถึงได้สะดวกจากถนนใหญ่สภาพพื้นที่มีการพัฒนาในส่วนบริการ ป้ายสื่อความหมาย ถังขยะ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ลานจอดรถ ห้องน้ำ ทางเดิน ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ ลานกางเต็นท์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และแพที่พัก

โครงการพัฒนา

-

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

ป้ายสื่อความหมาย ถังขยะ แพที่พัก บ้านพักนักท่องเที่ยว ห้องน้ำ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ลานจอดรถ ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ เรือนำเที่ยว 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
ลักษณะทั่วไป
อื่นๆ
- ไม่มีข้อมูล -