สถานที่ตั้ง

จังหวัด ศรีสะเกษ อำเภอ อำเภอขุนหาญ ตำบล บักดอง 33150

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        น้ำตกขนาดกลางตกจากหน้าผาสูง 8 เหนือน้ำตกเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน เดิมชื่อว่า “น้ำตกปีศาจ” ซึ่งตั้งตามชื่อหน่วยทหารพรานที่มีสมญานามว่า “หน่วยปีศาจ” ซึ่งใช้น้ำตกแห่งนี้เป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการ
 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ธรณีวิทยา ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วย หินทราย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือก 
        น้ำ มีน้ำไหลเฉพาะฤดูฝน
        ขยะ  ไม่พบเห็นขยะในเส้นทาง
 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง พรรณไม้มี ยาง ตะเคียน ประดู่ พยุง ตะแบก สมพง เขล็ง ลำดวน ขนุนป่า มะม่วงป่า ขว้าว มะค่า ชิงชัน นนทรี และพันจำ เป็นต้น ไม้พื้นล่างเป็นพวกลูกไม้ต่าง ๆ มอส เฟิร์น หวาย และกระแซงซึ่งเป็นพรรณไม้โบราณ เป็นต้น
        สัตว์ป่า สัตว์ป่าที่พบเห็นอยู่ทั่วไป คือ หมูป่า เก้ง กวาง กระจง ชะนื ไก่ป่า หมี ไก่ฟ้า ชะมด กระต่าย นกชนิดต่าง ๆ และสัตว์ป่าที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในบริเวณนี้คือ กูปรีหรือโคไพร ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่เกือบจะสูญพันธุ์แล้ว
 

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

โครงการพัฒนา

        มีเขื่อนบริเวณเหนือน้ำตก
 

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        มีการพัฒนาที่นั่งพัก ลานจอดรถ ราวกั้นในจุดอันตราย
 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
คุณค่าการใช้ประโยชน์
สิ่งอำนวยความสะดวก
อื่นๆ
- ไม่มีข้อมูล -