สถานที่ตั้ง

จังหวัด สุโขทัย อำเภอ อำเภอคีรีมาศ ตำบล บ้านน้ำพุ 64160

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

     น้ำตกสายรุ้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหงประมาณ 45 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ล้อมรอบไปด้วยสังคมพืชเบญจพรรณที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในอุทยานแห่งชาติ เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาพระเจดีย์เป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่า 100 เมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น น้ำตกชั้นบนสุดเป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร มีน้ำไหลเกือบตลอดทั้งปี การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ถึงสามแยกบ้านใหม่เจริญผล เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1327 ตรงไปจนถึงสามแยกบ้านน้ำพุ จะพบทางแยกไปน้ำตกสายรุ้ง เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ รค.1 (น้ำตกสายรุ้ง) ซึ่งเป็นปากทางเข้าน้ำตก ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จึงจะถึงน้ำตก (ที่มา : อุทยานแห่งชาติรามคำแหง)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

     ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วยหินตะกอนน้ำพาแทรกด้วยแนวหินตะกอนตะพัก

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ลักษณะภูมิประเทศ เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์เป็นแอ่งท้องกระทะไหลลงมาเป็นลำธารคลองไผ่นาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 190 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง ลักษณะเป็นหน้าผาหินที่เป็นหุบเขาเชื่อมระหว่างสันเขาทั้งสองด้าน เป็นชั้นหินสลับซับซ้อน
  • น้ำ มีน้ำเฉพาะฤดูฝน
  • ขยะ พบเห็นขยะตามทางเดินเล็กน้อย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

  • พืชพรรณ ลักษณะที่พบเป็นป่าเบญจพรรณ ที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด   ไผ่ไร่ และไผ่ซางนวล เป็นต้น พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น 
  • สัตว์ป่า สัตว์ป่าที่อาจพบเห็นในพื้นที่บริเวณน้ำตกสายรุ้ง เช่น เก้ง หมูป่า ลิงกัง อีเห็นเครือ ค้างคาวขอบหูกลาง กระรอกหลากสี กระจ้อน นกเขียวก้านตองหน้าผาก สีทอง นกแซงแซวหางปลา และนกจับแมลงจุกดำ เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์

     การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
สิ่งอำนวยความสะดวก
อื่นๆ
- ไม่มีข้อมูล -