สถานที่ตั้ง

จังหวัด ชลบุรี อำเภอ อำเภอบางละมุง ตำบล หนองปรือ 20150

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ชายหาด

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

หาดจอมเทียน เป็นชายหาดขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี  เป็นหาดทรายสวยงามทอดตัวเป็นแนวยาว อยู่ห่างจากพัทยาใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามถนนเลียบชายหาดหรือแยกขวาจากถนนสุขุมวิท ตรงกิโลเมตรที่ 150.5 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร หาดแห่งนี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว จึงทำให้มีธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ ธุรกิจ ที่พัก และ โรงแรมเป็นหาดยอดนิยมของเมืองพัทยา สถานที่พักผ่อนเล่นน้ำ และกิจกรรมกีฬาทางน้ำ  หาดจอมเทียน เดิมเคยเป็นพื้นที่ทางเกษตรในการทำนา ทำสวน ทำไร่ แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นชายหาดยอดนิยมของพัทยา ชลบุรี 

 

ตำนานความเชื่อ

หาดจอมเทียน เป็นชายหาดที่ทอดยาวต่อจากหาดพัทยาลงมาทางทิศใต้ มีทรายเม็ดใหญ่สีน้ำตาลอ่อนเป็นจุดเด่นของหาด เดิมมีชื่อว่า “หาดดงตาล” เพราะมีต้นตาลขึ้นอยู่ริมหาดเป็นจำนวนมาก ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หาดจอมเทียน” เพื่อระลึกถึง “พระนางจอมเทียนพิกุลแก้วดาราสว่าง” เจ้านางผู้เลอโฉมแห่งนครอุทัยทอง ที่เชื่อว่าเป็นนครลับแลที่ทับซ้อนอยู่กับเมืองพัทยา เล่ากันว่าผิวของพระนางสวยงามผุดผ่องดุจแสงเทียนไม่ต่างกับเม็ดทรายเมื่อยามต้องแสงอาทิตย์ ด้วยความลาดเอียงของหาดที่น้อยกว่าที่อื่น เมื่อน้ำขึ้นชายหาดจะถูกน้ำทะเลไหลมาท่วมจนเหลือหาดหน้าแคบ แต่เมื่อน้ำลงหาดทรายสีน้ำตาลอ่อนจะปรากฏขึ้นมา บางจุดกว้างถึง 100 เมตร 

               ตำนานเรื่องนี้เล่าต่อๆ กันมาด้วยวาจา แต่ก็เป็นที่มาของสถานที่ หลายแห่งในอำเภอสัตหีบ และพื้นที่ใกล้เคียง มีเรื่องเล่ากันสืบมาหลายชั่วอายุคนแล้วว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนครใหญ่กลางป่าริมทะเลแห่งหนึ่งชื่อว่า "อุทัยทอง" ซึ่งหมายถึง "รุ่งสว่าง" มีกษัตริย์ผู้มีพระปรีชาสามารถปกครองประชาราษฎร์ให้มีความสุขร่มเย็นดีเป็นผู้ครองนคร มีนามว่า "พระเจ้าเขมรินทร์" พระมเหสีมีนามว่า "อินทิรา" มีพระราชธิดาองค์เดียว มีนามว่า "พระนางจอมเทียนพิกุลแก้วดาราสว่าง" เพราะพระนางเป็นผู้ที่มีรูปร่างหน้าตางดงามเปล่งปลั่งตั่งแต่เยาว์วัย และสดชื่นแจ่มใสดุจเปลวเทียน มีแม่นมเฝ้าดูปรนนิบัติอยู่คนหนึ่งชื่อ "อนงค์" มีราชองค์รักษ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนป้องกันอันตราย ๗ คน ในนครอุทัยทองแห่งนี้มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เพราะมีพญาปูผู้มีฤทธิ์ มีกายเป็นสีครามอาศัยอยู่ในหนองน้ำอันศักดิ์สิทธิ์กลางมหานคร เป็นผู้ดูแลรักษา ชาวบ้านเรียกหนองน้ำนี้ว่า "บ่อปู" ทำให้มีเงินทองทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา จวบจนพระราชธิดามีพระชนมายุครบ ๑๙ พรรษา เป็นที่หมายปองหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ รวมทั้งผู้ที่ตกพุ่มม่ายเมียตายอย่างอำมาตย์เอกผู้มีปัญญาเฉียบไว อายุเพียง ๔๐ ปีเศษคนหนึ่งชื่อ "แก้ว" ในขณะเดียวกัน องครักษ์คนหนึ่งเป็นหนุ่มโสดรูปงามนามว่า "ราชัน" ปฎิบัติหน้าที่ในวังด้วยความเข้มแข็งจนเป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และพระนางจอมเทียนมาก จึงทำความไม่พอใจแก่อำมาตย์แก้วผู้หลงรักพระนางจอมเทียนมาก จึงคิดกำจัดองค์รักษ์ผู้นี้เสีย โดยให้บรรดาผู้ใกล้ชิดออกข่าวว่า องค์รักษ์ผู้นี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดฉันชู้สาวกับพระนางจอมเทียน เป็นที่เสื่อมเสียแก่บ้านเมืองทำให้พระนางจอมเทียนมีความกังวลพระทัยมาก จนต้องแนะนำให้องค์รักษ์ผู้นี้หนีออกจากเมืองไปอยู่ที่อื่นเสียเพื่อเรื่องราวจะได้จบลงวันเดินทางพระนางได้ถอดสร้อยและแหวนประจำพระองค์มอบให้องค์รักษ์เพื่อจักได้นำไปแลกเป็นเงินทองหรืออาหารระหว่างเดินทาง  แต่ด้วยความโชคร้ายของคนทั้งสอง พระเจ้าเขมรินทร์มาพบเข้าทรงพิโรธมาก เข้าพระทัยว่าข่าวลือเป็นจริง จึงสั่งให้นำองค์รักษ์ไปฆ่าเสียที่ "ทุ่งประหาร" แม้ว่าพระนางจอมเทียนและแม่นมจะพยายามทูลความจริงพระองค์ก็ไม่ฟัง ซ้ำยังสั่งให้นำแม่นมไปประหารด้วยอีกคนหนึ่ง ทำให้พระนางจอมเทียนเสียพระทัยมาก ที่เป็นต้นเหตุให้ผู้มีพระคุณต่อตนเองเสียชีวิตทั้ง 2 คน เพื่อทดแทนความสูญเสียนี้ พระนางจึงตัดสินพระทัยสังเวยชีวิตตนเองโดยการกระโดดลงไปใน "บ่อปู" จนจมน้ำสิ้นพระชนม์ ก่อนสังเวยชีวิตพระนางจอมเทียนได้ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า พระนางไม่เคยมีความคิดฉันชู้สาวกับองค์รักษ์ ด้วยสัจจะและความบริสุทธิ์ใจนี้ จงเป็นอานิสงฆ์ให้พระนาม "พระนางจอมเทียนพิกุลแก้วดาราสว่าง" จงสถิตย์อยู่คู่แผ่นดินตราบฟ้าดินสลาย เมื่อพระเจ้าเขมรินทร์มาพบเข้ามีความเสียพระทัยมาก จึงได้นำร่างของพระนางไปทำพิธีที่เกาะแห่งหนึ่ง ชื่อว่า "เกาะเจ้า" เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระราชธิดาสุดที่รักพระองค์จึงตั้งหาดริมทะเลใกล้กำแพงเมืองว่า "หาดพระนางจอมเทียน" และสร้างวัดเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้พระนาง มีชื่อว่า "วัดพระนางจอมเทียนพิกุลแก้วดาราสว่างอาราม" และนำสมบัติของพระองค์และของพระนางจอมเทียนไปทิ้งลงในบ่อปูและกลบฝังเสียพร้อมกับประกาศคำอธิษฐานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ว่า หากผู้ใดที่เคยเกิดร่วมสมัยกับพระองค์ จะได้พบสมบัติในชาติหน้า แล้วพระองค์ได้ตัดสินพระทัยย้ายนครอุทัยทอง ไปตั้งเมืองใหม่ที่ "เขาลับแล" กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน การบอกเล่าด้วยวาจาก็ย่อมผิดเพี้ยนไปบ้างเป็นของธรรมดา"หาดพระนางจอมเทียน" กลายเป็น "หาดนาจอมเทียน" และเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสัตหีบ"วัดพระนางจอมเทียนพิกุลแก้วดาราสว่างอาราม" (บางคนว่าลงท้ายว่าอารมณ์) เหลือเพียง "วัดนาจอมเทียน" เช่นชื่อเดียวกับตำบล"เกาะเจ้า" สถานที่ฝังศพพระนางจอมเทียน มีคนรู้จักและชี้สถานที่ได้อยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลนาจอมเทียน"ทุ่งประหาร" กลายเป็น "ทุ่งละหาน""เกาะอีนง" สถานที่ฝังศพแม่นมหลังวัดนาจอมเทียนถูกปรับปรุงเป็นบ้านที่อยู่อาศัยหมดแล้ว"เขาลับแล" มีคนเชื่อว่า คือ สถานที่เดียวกันกับบริเวณที่สร้างวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุงในปัจจุบันนี้และที่น่าสนใจมากคือ "บ่อปู" มีคนเคยขุดได้ไหโบราณ ๔ ใบ แต่ไม่มีทรัพย์สมบัติใด ๆ เหลืออยู่ในนั้นเลย นอกจากเปลือกหอย คนที่เป็นเจ้าของไห คงไม่ใช่คนที่เคยเกิดร่วมสมัยกับพระเจ้าเขมรินทร์เป็นแน่ ยิ่งกว่านั้นมีคนเล่าให้ฟังอีกว่าได้เคยขุดพบถ้วยชามสมัยโบราณซึ่งเป็นเครื่องลายครามฝีมือชาวจีนชั้นดี เอาไปไว้บ้านญาติที่ต่างจังหวัด แต่ก็ต้องนำมาคืน เนื่องจากเกิดอาเพทหลายประการ  (อ่านแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าจะสรุปได้ว่า โบราณเขาสร้างตำนานหรือนิทานพื้นบ้านไว้เพื่ออะไร)

 

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

        ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2310 ประมาณ 2 เดือน พระยาตาก(สิน) เจ้าเมืองตาก เมื่อครั้งพระนครศรีอยุธยาถูกพม่าล้อม ทรงนำกำลังพลประมาณ 500 นาย ตีแหวกวงล้อมของพม่า เพื่อมาตั้งหลักกันใหม่ ทรงเดินทางมาแวะพักทัพในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ “เมืองพัทยา” ในปัจจุบัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองจันทบุรี และกลับไปต่อสู้ขับไล่ข้าศึกออกจากประเทศไทย หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2  พร้อมทั้งประกาศอิสรภาพ ทรงกอบกู้เอกราชของชาติมาได้ ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น ต่อมาท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”    ผู้ก่อตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 3 ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ของประเทศไทย      ดังนั้น สถานที่บริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เดินทางมาแวะพักทัพนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงได้เรียกขานกันว่า “ทัพพระยา”    ส่วนอีกกระแส ได้กล่าวถึงตำนานไว้ว่า “พัทยา” ตรงบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแวะพักทัพ นั้น เป็นบริเวณที่มีทำเลดีและมีลมทะเลชนิดหนึ่งชื่อว่า “ ลมพัทธยา ” เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดผ่านเข้ามาที่นี่เป็นประจำทุกปีในตอนต้นฤดูฝน จึงได้เรียกสถานที่บริเวณนี้ว่า “หมู่บ้านพัทธยา” และต่อมาได้เรียกเป็น “พัทยา” ในที่สุด  

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

ธรณีวิทยาโครงสร้างทางภาคตะวันออก พบลักษณะของรอยเลื่อน และช้นหินคดโค้ง ั จากข้อมูลหินใน บริเวณพื้นที่ศึกษา คาดว่ามีการเคลื่อนที่และการยกตัวของแผ่นดิน เกิดการคดโค้งของช้นหินและมีการเลื ั ่อนตัว ไปพร้อมๆกัน โดยมีการเกิดก่อนการสะสมตัวของหินตะกอนที่มีสีแดงมหายุคมีโซโซอิก การแทรกดันตัวขึ้นมา ของหินอัคนีในที่ลึก เป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กันคือ เป็นแรงผลักดันให้หินมีการยกตัวเป็นบริเวณกว้างและ รวมถึงกระบวนการเกิดหินแปรได้สิ้นสุดลงด้วย หลังจากน้นจึงเริ ั ่มมีการผุพังและสึกกร่อนของหินที่ถูกยกตัว และโผล่บนพื้นผิวโดยโครงสร้างต่างๆที่มีอย่ในหินในขณะน ู ้นจะเป ั ็นตัวควบคุมว่าหินชนิดใดบ้างจะเป็นแหล่งต้น กําเนิดของตะกอน ตะกอนจะถูกพัดพาไปทางไหน และท้ายสุดไปสะสมตัวที่ไหนและแข็งตัวกลายเป็นหินตะกอน 9 สีแดงไปในที่สุด หลังจากมหายุคมีโซโซอิก ของหินตะกอนชุดสีแดง ทางภาคตะวันออกไม่ปรากฎหลักฐานว่ามี หินอายุอ่อนกว่าหรือไม่มีหินในยุคถัดมา คือยุคเทอร์เชียรีเกิดอย่และถ้าไม่มีอย ู ู่แสดงว่าในช่วงอายุเทอร์เชียรีนี้ มีการยกตัวของแผ่นดินอีก ซึ่งหมายถึงมีการคดโค้งและการเลื่อนตัวเกิดร่วมด้วย แต่เป็นไปอย่างรุนแรงจนจน พื้นที่ที่เป็นแผ่นดินปัจจุบันไม่มีการสะสมตัวของตะกอนในช่วงอายุน้นั คือ การผุพังกัดกร่อนในช่วงเวลาเกิดขึ้นแต่ไม่มีที่ที่เหมาะสมต่อการสะสมตัวโดยตะกอนถูกพัดพาไปสะสมตัวที่อื่น เช่น ในทะเล โครงสร้างในหิน ที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นลักษณะที่พัฒนามาแต่มหายุคมีโซโซอิกและทับซ้อนภายหลังอีกในยุคเทอร์เชียรี เมื่อเข้าส่ยู ุค ควอเทอร์นารีวงจรการเกิดตะกอนใหม่ก็เริ่มอีกคร้งั ธรณีพิบัติภัย ธรณีพิบัติภัยเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณ ีวิทยา อาทิ แผ่นดินไหว ดินถล่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

จัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี พ.ศ. 2552 พบว่าปัจจุบันชายหาดจอมเทียน (จ.ชลบุรี) ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเช่นเดียวกับชายหาดพัทยา ส่งผลให้ชายหาดถดถอยและลดขนาดลงไปทุกปี จนเหลือพื้นที่ทรายชายหาดจอมเทียนไม่เพียงพอ ที่จะรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนบนชายหาดได้

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

มีความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ 

ความหลากหลายด้านระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมือง

ประเภทการใช้ประโยชน์

เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  พักผ่อน

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

      ชายหาดจอมเทียน เป็นทรัพยากรธรรมชาติชายทะเลที่เป็นจุดดึงดูดนักทั่องเที่ยวของเมืองพัทยา  จากสภาพปัญหาปัจจุบันส่งผลกระทบทางด้านการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของเมืองพัทยา ได้แก่ ปัญหาความเสื่อใโทรมของสภาพธรรมชาติ  อายุการใช้งานสิ่งปลูกสร้าง  สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในพื้นที่ท่องเที่ยว ตลอดจนไม่มีพี้นที่ดำเนินกิจกรรมและส่ิงอำนวยความสะดวกผู้พิการ ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดือดร้อน กระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว  ลดทอนความเชื่อมั่นและแรงจูงใจให้มาท่องเที่ยว   ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดจอมเทียน  ด้วยนวตกรรมสมัยใหม่ที่ทันสมัยผสมผสามแนวคิดในการรักษาส่ิงแวดล้อมธรรมชาติ และสร้างเป็นเอกลักษณ์ของเมืองพัทยา    

โครงการพัฒนา

กรมเจ้าท่า จัดทำโครงการเสริมทรายชายหาดจอมเทียน และจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี พ.ศ. 2552 พบว่าปัจจุบันชายหาดจอมเทียน (จ.ชลบุรี) ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเช่นเดียวกับชายหาดพัทยา ส่งผลให้ชายหาดถดถอยและลดขนาดลงไปทุกปี จนเหลือพื้นที่ทรายชายหาดจอมเทียนไม่เพียงพอ ที่จะรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนบนชายหาดได้ มีนโยบายเร่งด่วน เพื่อทำการเสริมทรายเพื่อป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายหาดเช่นเดียวกับที่ชายหาดพัทยา โดยจะเริ่มงานในระยะที่ 1 ก่อน เป็นระยะทางรวมทั้งสิ้นกว่า 3.5 กิโลเมตร

การพัฒนาโครงการ  

• ผิวทางเดินเท้า ซ่อมแซมและปรับปรุงผิวทางเดินเท้าที่ชำรุด

• ไฟฟ้าส่องสว่าง เพิ่มเสาไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณทางเดินเท้าริมชายหาดจอมเทียน

• สิ่ งอํานวยความสะดวก พัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวที่สามารถรองรับกลุ่มคนได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้พิการอย่างเท่าเทียมกัน

• ภูมิทัศน์ชายหาด พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามและเป็นระเบียบ 

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ  อาหาร  ร้านค้า  ที่จอดรถ/ทางลาด  ห้องน้ำคนพิการ ทางเดิน  และร้านขายของที่ระลึก

มีคอนโด โรงแรม ร้านค้าให้บริการ ตลอดแนวถนนเลียบชายหาด  

ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทชายหาด
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
ลักษณะทั่วไป
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -