สถานที่ตั้ง

จังหวัด แม่ฮ่องสอน อำเภอ อำเภอแม่ลาน้อย ตำบล แม่ลาน้อย 58120

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมน้ำ

ตำนานความเชื่อ

มีชาวลัวะกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเองอาสัยอยู่ในถ้ำ แถบลุ่มน้ำสาละวิน (น้ำคง) มีหินก้อนใหญ่อยู่ก้อนหนึ่งเป็่นผัวเมียกัน เป็นที่เคารพนับถือของชาวลัวะในยุคนั้นมาก และได้รับการเลี้ยงดูจากบรรพบุรุษเป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อมีลูกหลานลัวะเพิ่มขึ้น ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ก้อนหินคู่นั้นเท่าที่ควร ได้มีการล่วงละเมิดประเพณีดั้งเดิมหลายอย่าง ทำให้ก้อนหินนั้นโกรธจึงได้กลิ้งทับชาวลัวะล้มตายเป็นอันมาก พวกที่เหลือพากันอพยพหนีตายมาทางทิศตะวันออก ก้อนหินทั้งสองก็ไม่ลดละคงติดตามไปฆ่าต่อไป จนกระทั่งมาถึงบริเวณภูเขาสูงที่ทอดยาว ทางด้านทิศตะวันออกของลำน้ำยวม ชาวลัวะที่เหลือจึงหนีขึ้นไปอยู่ตามยอดเขาสูง ฝ่ายก้อนหินทั้งคู่ก็พยายามติดตาม และถามข่าวคราวหาชาวลัวะอย่างไม่ลดละ จนกระทั้งพบนกกระตั้วหัวหงอกตัวหนึ่งได้บอกแก่ก้อนหินทั้งคู่ว่า ชาวลัวะไม่ได้อยู่แถวนี้ เพราะตนเองแก่จนหัวหงอกแล้ว ยังตามชาวลัวะไม่พบเลย ก้อนหินทั้งคู่เลยเชื่อและหยุดไล่ตามชาวลัวะแต่นั้นมา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นชั้นหินที่ขวางทางน้ำ ชั้นหินดังกล่าวมีการวางตัวเกือบอยู่ในแนวตั้ง ประกอบด้วยหินทรายสลับกับหินดินดานถูกแปรสภาพบางส่วนเกือบเป็นหินแปร ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะเหลือเป็นกองหินขนาดใหญ่ขวางทางน้ำ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

มีลำน้ำไหลผ่าน บริเวณโดยรอบเป็นก้อนหินจากลำน้ำ

สภาพภูมิทัศน์ไม่มีความสวยงาม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ เป็นพรรณไม้ท้องถิ่น

สัตว์ป่า ไม่มีข้อมูล

ประเภทการใช้ประโยชน์

ไม่มีการใช้ประโยชน์

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

เป็นก้อนหินก้อนใหญ่ตั้งอยู่ริมน้ำ ไม่มีการดูแลรักษาทำให้มีพืชพรรณบริเวณใกล้เคียงขึ้นบนก้อนหินทำให้ส่งเสริมความสวยงามของก้อนหินแต่ไม่ได้ส่งเสริมความสำคัญของก้อนหินเพราะถูกพืชพันธุ์ปกคลุม

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -