สถานที่ตั้ง

จังหวัด แพร่ อำเภอ อำเภอวังชิ้น ตำบล นาพูน 54160

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

มีกองหินเรียงรายกันอยู่คล้ายกับเจดี มีอยู่ถึง 7 – 8 กอง มีรูปเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม และ 6 เหลี่ยม เป็นแท่งเส้นผ่านศูนย์กลาง 26-30 เซนติเมตร แท่งที่ยาวที่สุด มีขนาด 2.20 เมตร ความยาวของแท่งอยู่ระหว่าง 45-70 เซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมด 3 กอง โดยมีความยาวและความสูงดังต่อไปนี้ กองที่ 1 มีความยาวประมาณ 10 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร กองที่ 2 มีความยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร และกองที่ 3 มีความยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร

 

ตำนานความเชื่อ

เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมาได้มีคนมาจากสวรรคโลกเดินทางมาหา นายกิ โปด้วง ให้นำทางไปที่ม่อนหินกอง อ้างว่ามีลายแทง และว่าพวกมอญ พวกเงี้ยว เอาของดีมาซ่อนไว้ที่ม่อนหินกองแล้วเอาหินทับไว้ และนายกิ โปด้วง จึงได้นำทางนายเสริญ และนายน้อย ไปขุดหารายแทงนั้น พอขุดได้ 2 วัน ก็มีงูยาวประมาณ 1 เมตร มานอนบริเวณนั้น และการขุดหาลายแทงนั้นทั้งนายเสริญ และนายน้อย ได้แต่สาก และครก 1 ชิ้นเท่านั้น และมีคำบอกเล่าว่าถ้าบุคคลใดเอาของอะไรก็ตามที่อยู่ในนั้นออกมา เชื่อว่าจะมีอันเป็นไป และพอขุดได้ไม่กี่วัน นายเสริญก็ป่วย นายน้อยจึงพานายเสริญกลับบ้านพอกลับไปถึงบ้านนายเสริญก็ตาย และมีชาวบ้านบางรายเล่าว่าพอถึงวันพระ จะได้ยินเสียงก้องเสียงกังวานดังขึ้นบริเวณม่อนหินกอง และมีชาวบ้านบางคนเคยเห็นลูกแก้วลอยขึ้นบริเวณม่อนหินกอง

 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

เมื่อประมาณ 5 – 6 ล้านปีมาแล้ว เกิดการประทุของภูเขาไฟ พาเอาหินหนืดจากใต้เปลือกโลกไหลประทุขึ้นมาเป็นลาวา ( lava ) ของหินบะซอลต์ ปกคลุมพื้นผิวบริเวณนี้แล้วเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว มีผลให้ส่วนของหินบะซอลต์ที่อยู่ตอนบนเกิดแรงดึงทุกทิศทุกทางจากการหดตัวในขณะที่เย็นตัวลงทำให้เกิดรอยแตกรอยแยกที่ตั้งฉากกับพื้นผิวจึงได้ลักษณะหินแตกเป็นหลาย ๆ เหลี่ยมคล้ายเสา ( columnar ) ตั้งตรงหรือล้มระเนระนาดบ้างอยู่ในบริเวณนี้

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

มีการปรับปรุง ดูแลรักษาสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณม่อนหินกอง ทำให้พื้นที่ไม่เสื่อมโทรม

 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ สภาพป่าโดยรอบเป็นพืชพรรณท้องถิ่น และอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน

 

 

ประเภทการใช้ประโยชน์

การท่องเที่ยว นันทนาการ

กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักคือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ

 

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

มีการลำดับขั้นการเข้าถึง กองหินแต่ละกอง โดยใช้ทางเดินและป้ายสื่อความหมาย แต่บริเวณป้ายม่อนเสาหินพิศวงมีขนาดใหญ่มากและนำไม้ต่างถิ่นเข้ามาประดับตกแต่งอย่างไม่เหมาะสมและไม่กลมกลืนกับธรรมชาติ

 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -