สถานที่ตั้ง

จังหวัด แพร่ อำเภอ อำเภอเมืองแพร่ ตำบล น้ำชำ 54000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

     แพะเมืองผี เป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา ซึ่งนักธรณีวิทยาประมาณค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค Quaternary เกิดขึ้นประมาณไม่เกิน 2 ล้านปี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่องเสียงของจังหวัดเเพร่ เป็นเนินที่พังยุบลงเป็นแอ่ง คล้ายกระทะหงาย ภายในแอ่งมีโคก หรือเนิน ซึ่งเกิดจากการพังทลายที่ไม่สม่ำเสมอของชั้นตะกอน ทำให้เกิดลักษณะเหมือนแท่งเสา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

     ประกอบด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว 2 ชนิด คือ ตะกอนชั้นล่าง เป็นตะกอนเม็ดเล็ก ประกอบด้วยดินเหนียวปนทรายเม็ดละเอียด มีสีเทา และมีจุดสีน้ำตาลและน้ำตาลปนเหลือง บางบริเวณมีตะกอนทรายหยาบแทรกเป็นขั้น ตะกอนชั้นนี้จะปรากฏร่องรอยการถูกกัดเซาะเป็นริ้วรอยมากที่สุด เนื่องจากมีดินเหนียวเป็นส่วนประกอบอยู่มาก และตามผิวของเสาดิน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

     บริเวณแพะเมืองผีมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะหงาย มีขนาดความกว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร โดยขอบแอ่งด้านทิศตะวันตกเป็นหน้าผาลาดชันลงมาทางทิศตะวันออกเข้าสู่ภายในแอ่ง ซึ่งมีตะกอนรูปร่างแปลกคล้ายเสาดิน จอมปลวก ดอกเห็ดหรือสะพานโค้งกระจายอยู่ทั่วไป บริเวณแพะเมืองผีประกอบด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวสองชนิดเกิดสลับกันอยู่ คือตะกอนเม็ดละเอียด พวกดินเหนียวปนทราย ซึ่งไม่คงทนจึงผุพังได้ง่าย มีลักษณะคล้ายเสาหินปรากฏให้เห็นทั่วไป อีกชนิดหนึ่งเป็นตะกอนเม็ดหยาบ พวกตะกอนกรวดและทรายปนดินเหนียว มีการวางตัวแบบชั้นเฉียงระดับ เนื้อประสานกันด้วยเหล็กหรือแมงกานีส ทาให้คงทนต่อการผุพังได้ดี เป็นเสมือนเปลือกแข็งปิดทับอยู่ด้านบน ไม่ให้ส่วนล่างที่มีความคงทนน้อยกว่าผุพังไปโดยง่าย (กรมทรัพยากรธรณี.2547)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

     พืชพันธุ์ดังเดิมในป่าเต็งรัง พบสัตว์เลื้อยคลาน และนกชนิดต่างๆ

ประเภทการใช้ประโยชน์

  • การท่องเที่ยว และนันทนาการ
  • ศึกษาเรียนรู้

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

  • บริเวณส่วนบริการอาคารและภูมิทัศน์มีหลายหลายรูปแบบปนกัน เส้นทางการเข้าถึงมี 2 ทางสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ และสำหรับเดินเข้าถึงแหล่งได้โดยตรง
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติไม่มีความน่าสนใจ ทั้งรูปแบบ และเรื่องราวของแหล่ง
  • ป้ายสื่อความหมายมีหลายรูปแบบ ซึ่งบางแบบใช้วัสดุที่ไม่กลมกลืนกับพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเดิมที่บอกแล้วบอกซ้ำ ทำให้ไม่น่าสนใจ อีกทั้งป้ายบางส่วนยังไม่ได้รับการดูแลรักษา ทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์และผุพังไป

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

  • ทางเดิน (พื้นแข็ง)
  • เก้าอี้
  • ห้องน้ำ
  • ลานจอดรถ
  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
  • ศาลา
  • ราวกันตก
  • ป้ายสื่อความหมาย
  • ค่ายพักแรม
  • ร้านค้า

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
- ไม่มีข้อมูล -