สถานที่ตั้ง
จังหวัด พัทลุง อำเภอ อำเภอเมืองพัทลุง ตำบล คูหาสวรรค์ 93000
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ภูเขา
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
เป็นภูเขาหินปูน อยู่กลางเมืองพัทลุงส่วนยอดภูเขา มีช่องกว้างประมาณ 10 เมตร ที่สามารถมองลอดทะลุ มองเห็นอีกด้านหนึ่งได้
ตำนานความเชื่อ
ชาวเมืองพัทลุงเชื่อว่าเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเจ้าแม่ฤดี เจ้าแห่งเขาอกทะลุ และเชื่อว่าเขาอกทะลุเปรียบเสมือนเสาหลักเมืองพัทลุงด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงนำภาพเขาอกทะลุและเจดีย์บนยอดเขามาทำเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัด ส่วนตำนานที่มาของชื่อเขาอกทะลุนั้นเกิดจากการวิวาทกันระหว่างเมียหลวง-เมียน้อย เมียหลวงใช้กระสวยทอผ้าฟาดหัวเมียน้อยจนแตก ส่วนเมียน้อยใช้สากตำข้าวกระทุ้งหน้าอกเมียหลวงอย่างแรงจนอกทะลุ ทั้งสองตายตกไปตามกัน กลายเป็นภูเขา เมียหลวงกลายเป็นเขาอกทะลุ เมียน้อยเป็นเขาหัวแตก (เขาคูหาสววรค์)
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
เขาอกทะลุเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดภายในถ้ำต่างๆบนภูเขามีการค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ ศิลปะสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12-13) จำนวนมาก กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่72 วันที่ 8 ธันวาคม 2478
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
ธรณีวิทยา -
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาหินปูนตั้งอยู่พื้นที่ราบลุ่มใจกลางเมืองพัทลุงซึ่งวางตัวตามแนว เหนือ-ใต้มีความสูง ประมาณ 250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำหินปูนมีทั้ง หินงอก หินย้อย บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ ถ้ำคุรำ และ ถ้ำเล็กๆอีกหลายแห่ง
ดิน ดินภูเขา บางส่วนมีการก่อสร้างบันได และทางเดินด้วยคอนกรีต
น้ำ -
ขยะ -
ภูมิทัศน์ ภูเขาหินปูนที่มียอดเขาเป็นช่องทะลุสามารถมองลอดผ่านเห็นทิวทัศน์อีกฝั่งได้ และอีกฟากของเขาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ถ้ำมาลัย รอบๆพื้นที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ
พืชพรรณ ลักษณะพืชพรรณป่าดิบชื้น
สัตว์ป่า -
ประเภทการใช้ประโยชน์
เป็นจุดชมวิวที่สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุง และเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ถ้ำมาลัย
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
มีการเข้าถึงได้สะดวกจากถนนใหญ่สภาพพื้นที่มีการพัฒนาในส่วนบริการทางเดิน และบันได ด้วยคอนกรีต บางส่วนมีการพัฒนาเป็นสำนักสงฆ์ดูไม่กลมกลืนกับธรรมชาติ
โครงการพัฒนา
- โครงการสู่สุดยอดเมืองลุง เพื่อพัฒนาเขาอกทะลุ มีการก่อสร้างบันไดจากเชิงเขาถึงช่องทะลุ โดยการก่อสร้างเจดีย์บนยอดเขา ก่อสร้างบันไดทางขึ้นจากช่องทะลุไปถึงยอดเขา ก่อสร้างราวบันไดอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และจัดสร้างที่ประดิษฐานองค์พระ และหล่อพระพุทธรูป รูปปั้นหลวงพ่อทวด หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ โดยกำหนดจุดประดิษฐานบริเวณทางขึ้นเขาอกทะลุและบริเวณลานช่องทะลุ และดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเขาอกทะลุ (โดยเทศบาลเมืองพัทลุง ปี 2556)
- โครงการพัฒนาเขาอกทะลุ ณ เขาอกทะลุ ชายหาดลำปำ และทะเลน้อย(โดยมหาวิทยาลัยทักษิณ ปี 2556)
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ ทางเดิน ห้องน้ำ บันได ศาลาชมวิว สำนักสงฆ์ กุฏิที่พักพระสงฆ์ เจดีย์ประดับกระเบื้องโมเสก