สถานที่ตั้ง

จังหวัด เลย อำเภอ อำเภอภูเรือ ตำบล ท่าศาลา 42160

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        บริเวณที่พบรอยตีนอยู่บนยอดภูหลวงเป็นพื้นหินทรายที่มีหญ้าปกคลุมพื้นที่ประมาณ 8 ตารางเมตร มีรอยตีนไดโนเสาร์เป็นรอยลึกลงไปในพื้นหินขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 31 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร จำนวน 15 รอย เดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ เป็นรอยตีนของไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ปรากฏอยู่บนผิวหน้าของชั้นหินทรายหมวดหินภูพานจัดอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 120 ล้านปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยหินทรายสีจางถึงสีเหลืองปนน้ำตาลมีเม็ดกรวด และชั้นเฉียงระดับ สลับชั้นบางของหินดินดาน และหินกรวดมน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

      เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบบนภู บนผาเตลิ่น ซึ่งเป็นหน้าผาหินสูง อากาศเย็นสบาย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

       ทุ่งหญ้า และป่าดิบเขา สัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เก้ง กวาง หมูป่า หมาใน เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์

        กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์หลักคือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่นๆ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        สวยงาม ไม่มีการพัฒนาใดๆ นอกจากเส้นทางเดินเท้าตามธรรมชาติ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -