สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุบลราชธานี อำเภอ อำเภอโพธิ์ไทร ตำบล สำโรง 34340

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

       เสาเฉลียงยักษ์  เป็นเสาเฉลียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ถือว่าเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ยอดนิยมของจังหวัดอุบลราชธานี  มีความสูงประมาณ 20 เมตร  บริเวณโดยรอบเป็นเนินหินโล่งกว้าง แวดล้อมด้วยป่า นอกจากนี้บริเวณฐานของเสาเฉลียงยักษ์ทางด้านทิศตะวันตกยังมีร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่โลงศพไม้ เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นของมนุษย์ 6โบราณ

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

ร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่โลงศพไม้ เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นของมนุษย์ 6โบราณ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ลักษณะทางธรณีวิทยาประกอบด้วยหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุคครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทรายยุคจูแรสซิก มีอายุประมาณ 180 ล้านปี เป็นส่วนต้นเสา เสาหินท่อนล่างผ่านการถูกชะล้างพังทลายเกิดจากน้ำฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ทำให้หินทรายบางส่วนที่สึกกร่อนง่ายถูกชะล้างพังทลายไปเหลือเพียงต้นเสา ส่วนบนที่มีความแข็งแรงสูงกว่าถูกกัดชะพังทลายยากกว่าจึงเหลือคงรูปร่างแผ่นหินที่ปิดทับบนเสาหิน เรียกว่า "เสาเฉลียง" แผลงมาจาก "สะเลียง" แปลว่า "เสาหิน"

         เป็นประติมากรรมธรรมชาติคล้ายเห็ดเกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่และกร่อนที่เกิดกับชั้นหินที่แข็งและอ่อนของหมวดหินภูพาน อายุประมาณ 110 ล้านปีทำให้ชั้นหินมีความคงทน ต่อกระบวนการดังกล่าวแตกต่างกันจึงถูกกัดกร่อนไม่เท่ากัน ส่วนที่เป็นชั้นหินที่อ่อนกว่าจะถูกกัดกร่อนมากกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายโคนเห็ด ในขณะที่ชั้นหินที่แข็งกว่าถูกกัดกร่อนน้อยกว่าจึงหลงเหลือเป็นส่วนคล้ายดอกเห็ด (กรมทรัพยากรธรณี)

          เสาเฉลียงพบโครงสร้างในชั้นหินตะกอนโดยพบชั้นหินเฉียงระดับ (Cross-Bedding) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการสะสมตัวของหินตะกอนเนื้อเม็ด ที่มีการวางตัวของชั้นหินทำมุมเอียงเทียบกับแนวชั้นหินจริง (bedding) ซึ่งอาจแสดงถึงทิศทางการสะสมตัวโบราณ (paleocurrent) โดยโครงสร้างชั้นหินเฉียงระดับนี้สามารถเกิดได้จากตัวกลางทั้งจากน้ำและลม โดยที่มุมการเอียงเทของชั้นหินเฉียงระดับโดยลมจะมากกว่ามุมการเอียงเทที่เกิดจากน้ำ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        แต่ละเสาสูงประมาณ 20 เมตร  มีเสาตั้งขนาดใหญ่รับน้ำหนักหินก้อนใหญ่ทรงแบนรูปทรงคล้ายดอกเห็ด  เหมือนสโตนเฮ้นช์ ของอังกฤษ ต่างกันเพียง เสาเฉลียง เป็นเสาเดี่ยวๆ  ไม่ได้ล้อมเป็นวง เหมือนสโตนเฮ้นช์   การที่มีหินก้อนใหญ่ไปตั้งบนเสานี้ได้  ก็สร้างความประหลาดใจให้กับผู้พบเห็นไม่น้อยว่า  ซึ่งทั้งขนาดของเสาตัวตั้ง ช่างรับน้ำหนักหินด้านบนได้พอดิบพอดี ยืนท้าลมฝนมาหลายล้านปี   มีนักธรณีวิทยาประเมินว่าเสาเฉลียงซึ่งเป็นหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุคครีเตเซียส ที่มีอายุประมาณ 130 ล้านปี   เป็นส่วนของหินแบนบางคนบอกว่าเป็นรูปดอกเห็ด  ส่วนตัวเสาเป็นหินทรายยุคไดโนเสาร์ อายุประมาณ 180 ล้านปี  หินทั้งสองส่วนผ่านการถูกชะล้างพังทลายลง จากสภาพอากาศ ฝน และลมพายุ เป็นเวลาหลายล้านปี  

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

      แหล่งธรณีสัณฐานเสาเฉลียงในจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีอยู่หลายแห่ง เสาเฉลียงยักษ์เป็นเสาเฉลียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นเนินหินโล่งกว้าง แวดล้อมด้วยป่าเบญจพรรณที่มีพืชพรรณแปลกตาหายากหลายชนิด นอกจากนี้บริเวณฐานของเสาเฉลียงยักษ์ทางด้านทิศตะวันตกยังมีร่องรอยทางโบราณคดี ได้แก่ โลงศพไม้เก่าแก่ยาวประมาณ 2 เมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นของมนุษย์โบราณ เสาเฉลียงเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลานาน เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีความแข็งและทนทานต่อการกัดกร่อนที่ไม่เหมือนกัน

ประเภทการใช้ประโยชน์

        -  เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

        -  ศึกษา วิจัย เรียนรู้ด้านธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -