สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุบลราชธานี อำเภอ อำเภอโขงเจียม ตำบล ห้วยไผ่ 34220

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เมื่อดูจากแม่น้ำโขง จะเห็นเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ ในบริเวณที่เป็นหน้าผา จะปรากฏภาพเขียนสีโบราณโดยฝีมือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 4,000 ปี เรียงรายตามความยาวของหน้าผาติดต่อกันยาวประมาณ 180 เมตร มีไม่ต่ำกว่า 300 ภาพ ซึ่งเป็นจำนวนภาพเขียนสีโบราณ ที่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในประเทศไทยและในต่างประเทศ ลักษณะของภาพแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาพคนทำนา ภาพสัตว์ ภาพมือ ภาพลายเรขาคณิต และภาพตุ้ม (เครื่องมือจับปลาของชาวประมงริมโขง)

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ประกอบด้วยหินในกลุ่มหินโคราช 2 หมวดหิน ได้แก่ หมวดหินเสาขัววางตัวในตอนล่างและหมวดหินภูพานวางตัวในตอนบนทับหมวดหินเสาขัว โดยหมวดหินเสาขัวพบบริเวณที่เป็นหน้าผา ประกอบด้วย หินโคลน หินทรายแป้งเนื้อปูนประสานและชั้นของเม็ดปูนน้ำจืด หมวดหินภูพานพบบริเวณลานหิน และชะง่อนผา ประกอบด้วย หินทราย หินทรายเนื้อกรวด และหินกรวดมน ชั้นเฉียงระดับพบอยู่ทั่วไป ผาแต้มเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก รวมทั้งการเกิดแนวรอยเลื่อน ซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำไหลผ่านและเกิดการกัดเซาะไปตามแนวแยกในแนวดิ่งมากกว่าแนวราบในช่วงแรก เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปีทางน้ำได้มีการพัฒนาเป็นแม่น้ำโขงกัดเซาะลึกลงไป พร้อมกับการกัดเซาะส่วนล่างขยายออกไปในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง เกิดการพังทลายลงมาตามริมหุบเขา ทำให้เกิดเป็นหน้าผาที่เห็นได้ในปัจจุบัน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

       แนวหินผาขนาดใหญ่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        ป่าผสมผลัดใบ

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        บริเวณทางเดินใช้การเทคอนกรีตไปบนแหล่งธรณีโดยตรงทำให้ต้นไม้และแหล่งธรณีได้รับผลกระทบโดยตรง ควรใช้ทางเดินที่ยกพื้นสูงขึ้นเพื่อรบกวนแหล่งธรณีและสภาพแวดล้อมโดยรอบให้น้อยที่สุด

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -