สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุบลราชธานี อำเภอ อำเภอโขงเจียม ตำบล ห้วยไผ่ 34220

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เสาเฉลียงเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยแม่น้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลาชั่วนาตาปี เกิดขึ้นในชั้นหินที่วางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบและในแต่ละชั้นมีส่วนประกอบของแร่ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีความแข็งและทนทานที่ไม่เหมือนกัน  เสาเฉลียง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ภายใน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ถือว่าเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ยอดนิยมของจังหวัดอุบลราชธานี แต่ละเสาสูงประมาณ 20 เมตร เป็นหินทรายที่ถูกกัดเซาะและกัดกร่อนจากธรรมชาติทั้งน้ำและลม จนมีลักษณะแปลกตาออกมา  

ตำนานความเชื่อ

เรื่องเล่ามายาวนาน - ความเชื่อ  เสาเฉลียง เป็นที่อยู่ของเหล่าวิญญาณเจ้าเมืองและทหารต่างๆ ที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามต่างแดน ว่ากันว่าวิญญาณจะกลายเป็นผึ้งมารวมกันอยู่บริเวณเสาหิน ในทุกๆ วันพระจะมีเจ้ากวน(ผู้ทรงเจ้า) จากหมู่บ้านไปบูชา และทำต่อๆ กันมาจนถึงในปัจจุบันนี้

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ลักษณะทางธรณีวิทยาประกอบด้วยหินทราย 2 ยุค คือ หินทรายยุคครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดอยู่ท่อนบน และหินทรายยุคจูแรสซิก มีอายุประมาณ 180 ล้านปี เป็นส่วนต้นเสา เสาหินท่อนล่างผ่านการถูกชะล้างพังทลายเกิดจากน้ำฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ทำให้หินทรายบางส่วนที่สึกกร่อนง่ายถูกชะล้างพังทลายไปเหลือเพียงต้นเสา ส่วนบนที่มีความแข็งแรงสูงกว่าถูกกัดชะพังทลายยากกว่าจึงเหลือคงรูปร่างแผ่นหินที่ปิดทับบนเสาหิน เรียกว่า "เสาเฉลียง" แผลงมาจาก "สะเลียง" แปลว่า "เสาหิน"  

         เสาเฉลียง ประติมากรรมชิ้นเอกร่วมกันของหินทราย 2ยุค คือหินทรายยุค ครีเตเซียส ซึ่งมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นส่วนดอกเห็ดที่อยู่ท่อนบน และหินทราย ยุคไดโนเสาร์ มีอายุประมาณ 180ล้านปี เป็นส่วนต้น เสาหินท่อนล่างโดยผ่านการถูกชะล้างพังทลาย โดยเกิดจากสภาพ อากาศ ฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว จะมีกระบวนการต้านธรรมชาติ และแรงกดทับของเม็ดฝนทำให้หินทรายแข็งแรง

          หิน มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดยักษ์ สูงประมาณตึก 2 ชั้น โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นหินทราย ที่มีเม็ดทรายเล็กๆ เป็นส่วนประกอบ เริ่มจากพื้นไปจนความสูงที่ 70-100 เซนติเมตร ส่วนที่สอง จะมีเม็ดทรายหยาบหลายๆ ชนิดผสมอยู่ เช่น เม็ดหินภูเขาไฟ เม็ดควอรตซ์ และเม็ดหินเชิร์ต และส่วนที่สามจะมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายร่ม ส่วนใหญ่เป็นหินทราย และบริเวณโดยรอบของ เสาเฉลียง นี้ จะเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

           มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดยักษ์ แท่งหินทรายขนาดใหญ่ที่มีหินแผ่นเทินทับอยู่บนแท่งหินสูงประมาณตึก 2 ชั้น เริ่มจากพื้นไปจนความสูงที่ 70-100 เซนติเมตร ส่วนที่สอง จะมีเม็ดทรายหยาบหลายๆ ชนิดผสมอยู่ เช่น เม็ดหินภูเขาไฟ เม็ดควอรตซ์ และเม็ดหินเชิร์ต และส่วนที่สามจะมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายร่ม ส่วนใหญ่เป็นหินทราย และบริเวณโดยรอบของเสาเฉลียง เป็นป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

    หินนี้ มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดยักษ์ สูงประมาณตึก 2 ชั้น โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นหินทราย ที่มีเม็ดทรายเล็กๆ เป็นส่วนประกอบ เริ่มจากพื้นไปจนความสูงที่ 70-100 เซนติเมตร ส่วนที่สอง จะมีเม็ดทรายหยาบหลายๆ ชนิดผสมอยู่ เช่น เม็ดหินภูเขาไฟ เม็ดควอรตซ์ และเม็ดหินเชิร์ต และส่วนที่สามจะมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายร่ม ส่วนใหญ่เป็นหินทราย และบริเวณโดยรอบของ เสาเฉลียง นี้ จะเต็มไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณต่างๆ  และป่าเต็งรังแคระ

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

       ใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยรายละเอียดด้านธรณีวิทยา  ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

ป้ายสื่อสารข้อมูล

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีข้อมูล -