สถานที่ตั้ง

จังหวัด อุบลราชธานี อำเภอ อำเภอบุณฑริก ตำบล ห้วยข่า 34230

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เป็นภูเขาหินทราย ที่ประกอบไปด้วยป่าลานหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตาแตกต่างจาก ที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลาก สีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ “ภูหินด่าง”

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        เป็นหินทราย หมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราชที่เกิดจากสะสมตะกอนในยุคครีเทเชียน ต่อมาภายหลังถูกยกตัวขึ้นมาเป็นที่ราบสูงโคราช หินทรายเหล่านี้ได้รับแรงกระทำให้เกิดแนวรอยแยก และถูกกัดชะและพังทลายโดยน้ำ และลมทำให้เกิดเป็นลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก บางส่วนของภูเขาผุพังทลายลงมาเหลือเป็นหน้าผาที่แสดงสีของเนื้อหินด้านในอย่างไม่สม่ำเสมอ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ภูหินด่าง”

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        หน้าผาขนาดใหญ่ บริเวณหน้าผาจะมีสีแดง-ชมพู เป็นที่มาของชื่อ และบริเวณใกล้เคียงมีลานหินขนาดใหญ่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        ป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

         ภูมิทัศน์สวยงามเป็นหน้าผาสูงชันเป็นแนวโค้ง สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้รอบ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -