สถานที่ตั้ง

จังหวัด มุกดาหาร อำเภอ อำเภอเมืองมุกดาหาร ตำบล นาสีนวน 49000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        พื้นที่ติดกับกลุ่มหินเทิบและลานมุจลินทร์ โดยเป็นหน้าผาสูงชันที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามสามารถมองเห็นหุบเขาและสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เบื้องหน้าได้ บริเวณริมหน้าผามีประติมากรรมหินรูปร่างคล้ายอูฐ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        เป็นหินทรายของหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หินทราย หินทรายเนื้อกรวด และหินกรวดมน พบชั้นเฉียงระดับอยู่ทั่วไป หินทรายดังกล่าวผ่านการถูกชะล้างพังทลายจากน้ำฝนและลมพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งหินทรายที่มีความแข็งแรงสึกกร่อนยากยังคงเหลืออยู่ หินทรายและหินทรายแป้งบางส่วนที่สึกกร่อนง่ายถูกชะล้างพังทลายไป จึงเกิดเป็นประติมากรรมหินรูปร่างคล้ายอูฐ บางบริเวณแสดงถึงร่องรอยของแนวรอยแตกที่ปรากฏบนลานหิน แล้วถูกน้ำกัดเซาะทำให้เกิดเป็นร่องขนาดใหญ่

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        ลานหินทรายและหน้าผา รวมทั้งมีหินคล้ายอูฐ เกิดเป็นประติมากรรมธรรมชาติ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        ป่าเต็งรังแคระ มีไม้พุ่มและไม้ใหญ่ปะปนกัน ในช่วงฤดูหนาว (กันยายน-พฤศจิกายน) จะมีทุ่งดอกหญ้าออกดอกชูช่อ ได้แก่ ดอกดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สลัสจันทร์ หยาดน้ำค้าง หญ้าน้ำค้าง ทิพยจันทร์

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -