สถานที่ตั้ง

จังหวัด ตรัง อำเภอ อำเภอห้วยยอด ตำบล เขากอบ 92130

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ซึ่งภายในแบ่งเป็นห้องๆจำนวนมาก มีลักษณะของหินงอกหินย้อย ประเภทหลอดหินย้อยเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นช่วงต้นของการเกิดหินย้อย มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีธารน้ำไหลผ่าน

ตำนานความเชื่อ

- ตำนานเล่าว่าถ้ำเลเขากอบเกิดจากการเนรมิตของพญานาค “พญากอบ” ที่หนีจากเมืองบาดาลมาเที่ยวบนโลก และได้พบรักกับ “ศรีขัน” สูกสาวของยักษ์หูแกง แม้ต่อมาศรีขันพลัดพรากจากพญากอบ นางรอคอยสามีอยู่ในถ้ำพร้อมกับลูกๆอีก แปดหมื่นตัว หากเมื่อใดที่พ่อแม่ลูกได้มาพบหน้ากัน ถ้ำก็จะเรื่องรองไปด้วยแสงเพชรนิลจิดา และผู้คนบริวเณนั้นก็จะพบความสุขความเจริญ

- ถ้ำคนธรรพ์ เล่าว่าเมื่ออดีตมีคนธรรพ์มาเคาะเล่นดนตรีให้นาง   กินนรีฟัง ขณะอาบน้ำอยู่ในน้ำตกภายในถ้ำ

- ถ้ำห้องเจ้าสาว เชื่อกันว่าหากใครไม่มีคู่เมื่อลอดเขาไปช่องกลางของม่านเจ้าสาวกลับไปจะได้พบคู่ ถ้ามีคู่แล้วให้ลอดช่องซ้ายมือจะอยู่กันอย่างมีความสุข แต่ถ้าคนไหนอยากมีคู่เพิ่มให้ลอดช่องด้านขวา เมื่อลอดเข้าแล้วให้ลอดออกทางช่องใหญ่เท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่เป็นด้งคำอธิฐาน

- ถ้ำลอด คนจีนมาเลเซีย เชื่อว่าถ้าได้ลอดท้องมังกรแล้วจะกลับไปมีโชคลาภ และความสุข ทำมาค้าขายดี

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

ประกอบด้วยหินปูนเนื้อละเอียดสีเทา เทาดำ เทาอมน้ำตาล เนื้อหินบางส่วนมีการตกผลึกใหญ่ หินปูนในบางบริเวณจะเป็นหินปูนเนื้อปนโดโลไมต์ และหินโดโลไมต์ หินปูนมีลักษณะเป็ฯชั้นหนา มีแนวของชั้นหินอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ชั้นหินเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หินปูนนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี มีอายุยุคเพอร์เมียน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

มีลักษณะเป็นธรรมชาติสูง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

มีการประดับด้วยพืชต่างถิ่น

ประเภทการใช้ประโยชน์

การท่องเที่ยว และนันทนาการ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

- การเข้าถึงต้องใช้เรือ เส้นทางเดินเรือมีระบบ เข้า-ออกคนละทางจึงทำให้สภาพธรรมชาติระหว่างทางดูสมบูรณ์สวยงาม ภายในถ้ำหินงอกหินย้อยยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์แต่ติดตั้งหลอดไฟสีเขียวและสีแดง ทำให้ไม่กลมกลืนกับพื้นที่ ควรใช้หลอดเดไลท์แทน

- สภาพแวดล้อมบริเวณส่วนบริการ และบริเวณก่อนเข้าถ้ำ อาคารดูรกร้างไม่ได้รับการดูแล

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -