สถานที่ตั้ง

จังหวัด ชัยภูมิ อำเภอ อำเภอเมืองชัยภูมิ ตำบล ห้วยต้อน 36000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        เป็นกลุ่มหินในพื้นที่ป่าธรรมชาติ จะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่เรียงรายกันอยู่ในพื้นที่ ส่วนก้อนหินที่มีรูปลักษณ์คล้ายซุ้มประตูหินโค้งนั้นเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มหินที่อยู่ใกล้เคียงกัน และมีรูปลักษณ์ตามธรรมชาติที่แปลกตา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ประกอบด้วยกลุ่มหินที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา หินในพื้นที่เป็นหินทราย หมวดหินพระวิหาร กลุ่มหินโคราช วางตัวอยู่บนหมวดหินภูกระดึง และวางตัวอยู่ล่างหมวดหินเสาขัวแบบต่อเนื่อง หินทราย หมวดหินพระวิหารเกิดจากการตกตะกอนในสภาวะแวดล้อมแบบแม่น้ำตวัดโค้ง และเปลี่ยนแปลงเป็นระบบทางน้ำประสานสาย (Braided stream) ในสภาวะอากาศสมัยโบราณจากร้อนชื้นเป็นกึ่งแห้งแล้ง ลักษณะทางกายภาพของหินโดยทั่วไป ประกอบด้วยหินทราย (Sandstones) สีขาวปนเหลืองเม็ดละเอียดถึงหยาบ มีการคัดขนาดและความมนดี มีเม็ดแร่ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยหินทรายแป้ง (Siltstones) หินโคลน (Mudstones) ชั้นบางๆ และหินกรวดมน (Conglomerates) สลับชั้นกัน ธรณีวิทยาโครงสร้าง ชั้นหินมีการวางตัวเอียงไปทางตะวันออกเล็กน้อย ชั้นหินทรายเนื้อหยาบ ความหนาตั้งแต่ 10-20 เมตร มีชั้นเฉียงระดับ ในรอยแตกมีออกไซด์ของเหล็กแทรกอยู่ทำให้แนวสันแข็ง เมื่อหินถูกกัดกร่อนและผุพัง ส่วนที่แตกและผุพังจะถูกชะทลายออกไปเหลือก้อนหินแข็งวางทับบนแท่งหินสองแท่ง คล้ายประตูที่โคลงช้างลอดผ่าน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        อยู่บนเนินเขาที่แวดล้อมไปด้วยป่าเต็งรังธรรมชาติ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นป่าเต็งรังและทุ่งหญ้า
        สัตว์ป่า จะพบนกบางชนิด และสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่ป่าเต็งรัง

ประเภทการใช้ประโยชน์

        เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -