สถานที่ตั้ง

จังหวัด ราชบุรี อำเภอ อำเภอจอมบึง ตำบล จอมบึง 70150

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

           ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี ในบริเวณสวนรุกชาติจอมพล ติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ห่างจากตัวเมืองราชบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร  ถ้ำจอมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี  ในอดีตมีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงประพาสและทอดพระเนตรถ้ำจอมพลนี้เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร  จุดเด่นและเป็นจุดที่น่าสนใจ คือ ความงดงามภายในถ้้าจอมพล ที่แม้ว่าจะเล็ก และไม่ลึกมากนัก แต่หินงอกหินย้อยภายในถ้้าจะมีความงดงามแปลกตา ลักษณะของหินงอก หินย้อยจะคล้ายม่านน้้าตกขนาดใหญ่ หรือเครื่องประดับยศจอมพล บางส่วนคล้ายวิกผมยาว หรือเป็นซุ้มคล้ายกับถ้้าเอสกิโม เพราะมีสีขาวสวย ตัวถ้้าไม่ยาวใหญ่ ลึกเข้าไปประมาณ 240 เมตรด้านในสุดของถ้้าจอมพลเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางไสยาสน์ และพระพุทธรูปยืน เป็นที่สักการะของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว

ตำนานความเชื่อ

-

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

ประวัติกำรศึกษำทำงโบรำณคดีและหลักฐำนทำงโบรำณคดีที่พบ
           เดิมมีชื่อว่า “ถ้้ามุจลินท์” อันไปเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพุทธประวัติ เรื่องพญานาค และสระน้้า ชุมชนเข้าใจว่าเดิมนั้น มีสระน้้ามีพญานาคใต้บาดาล จึงตั้งชื่อว่า ถ้้ามุจลินท์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่าชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ขอบสระประกอบด้วยต้นจิกเมื่อปี พ.ศ.2438  ในอดีตมีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงประพาสและทอดพระเนตรถ้ำจอมพลนี้เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถได้เสด็จประพาสถ้้านี้ทรงโปรดปรานความงามของถ้้า จึงทรงพระราชทานนามถ้้าใหม่ว่า “ถ้้าจอมพล” ภายในถ้้ามีหินงอกหินย้อยที่งดงาม มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่โดยค้างคาวจะบินออกจากถ้้าบริเวณช่องโหว่เพดานถ้้า และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดกลาง บริเวณหน้าถ้้าจอมพลเป็นสวนรุกขชาติ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ   ปากถ้ำจะมีพระอักษร จ.ป.ร. เป็นอักษรพระปรมาภิไธย ของรัชกาลที่ ๕ โดยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาสและทรงพระอักษร พระราชทานนามถ้ำว่า                      “ถ้ำจอมพล” โปรดเกล้าให้ช่างสลักศิลาตามอักษร  แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น  

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

       เป็นหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ หินโดโลไมต์ สีเทาถึงเทาเข้ม มีหินเชิร์ตเป็นกระเปาะแทรกสลับด้วยหินทราย และหินดินดาน พบซากฟูซูลินิด แบรคคิโอพอด ปะการังแอมโนนอยด์ และไครนอยด์ ยุคเพอร์เมียน ชุดกลุ่มหินราชบุรี (ประมาณ 245-286 ล้านปี)  เกิดจากการกัดเซาะของน้้าใต้ดินที่ไหลผ่านเป็นเวลานานท้าให้เกิดเป็นโพรงลึกเข้าไปในชั้นดิน น้้าที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่กลายเป็นกรดคาร์บอนิกละลายเอาสารประกอบในหินปูนออกมาเป็นสารแคลเซียม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

           หินบริเวณนี้เป็นหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ หินโดโลไมต์ สีเทาถึงเทาเข้ม มีหินเชิร์ตเป็นกระเปาะแทรกสลับด้วยหินทราย และหินดินดาน พบซากฟูซูลินิด แบรคคิโอพอด ปะการังแอมโนนอยด์ และไครนอยด์ ยุคเพอร์เมียน ชุดกลุ่มหินราชบุรี (ประมาณ 245-286 ล้านปี)
การเกิดของถ้้า เกิดจากการกัดเซาะของน้้าใต้ดินที่ไหลผ่านเป็นเวลานานท้าให้เกิดเป็นโพรงลึกเข้าไปในชั้นดิน น้้าที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่กลายเป็นกรดคาร์บอนิกละลายเอาสารประกอบในหินปูนออกมาเป็นสารแคลเซียม เมื่อน้้าระเหยไปจึงปล่อยให้สารประกอบที่ละลายมานั้น สลายตัวแล้วพอกจับตัวกันตามเพดานผนัง และพื้นถ้้า คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้้าเรียกว่า หินย้อย คราบหินปูนที่งอกจากพื้นถ้้าไปหาเพดานถ้้า เรียกว่า หินงอก หินย้อย และหินงอกนานเข้ามาบรรจบกันเกิดลักษณะคล้ายเสา เรียกว่า เสาหินย้อยถ้้ามีความกว้างประมาณ 30 เมตร ความยาวประมาณ 240 เมตร สูง 25 เมตร เป็นถ้้าที่มีหินงอกหินย้อยวิจิตรงดงามชวนชมอยู่หลายแห่ง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

           ถ้้าจอมพลอยู่ในบริเวณสวนรุกขชาติถ้้าจอมพล พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ป่าเบญจพรรณบนภูเขาหินปูน เช่น ประดู่ มะค่าโมง สัก แดง เป็นต้น ปัจจุบันสวนรุกขชาติถ้้าจอมพลได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

ประเภทการใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ที่ดิน
          การใช้ประโยชน์ที่ดินในต้าบลจอมบึง อ้าเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประมาณร้อยละ 13 และร้อยละ 67 เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ตามล้าดับ พื้นที่ป่าไม้ เหลือเพียงประมาณร้อยละ 14 ของพื้นที่

         เพื่อการท่องเที่ยง พักผ่อนหย่อนใจ ชมหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

ปัจจุบันถ้ำอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองจอมบึง มีการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมถ้ำจอมพล ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท  เวลาเข้าชมถ้ำจะต้องขึ้นบันไดไปสู่ปากถ้ำ  ตรงปากถ้ำจะมีพระอักษร จ.ป.ร. เป็นอักษรพระปรมาภิไธย ของรัชกาลที่ ๕ โดยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาสและทรงพระอักษร พระราชทานนามถ้ำว่า “ถ้ำจอมพล”โปรดเกล้าให้ช่างสลักศิลาตามอักษร  แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น   ที่ปากทางเข้าจะมีลมเย็นออกมาจากช่องทางเข้าถ้ำปะทะตัวเรา  พร้อมกับกลิ่นมูลค้างคาว เมื่อเข้าไปแล้วก็จะปรับสภาพชินไปกับกลิ่นเอง จากปากถ้ำจะมีทางลงก่อสร้างด้วยไม้ค่อนข้างลาดชันลึกลับดีแท้  ภายในอากาศไม่ร้อนอบอ้าว เดินเข้าไปจะเห็นหินงอกหินย้อยแต่ค่อนข้างมืดนิดต้องอาศัยช่างสังเกตุหน่อย  เมื่อถึงจุดที่ได้ชื่อว่า “บรมอาสน์” เป็นบริเวณใกล้เคียง  กับพระพุทธไสยาสน์มีหินย้อยเหมือนรูปกระถางคุณจะเห็นภาพสุดประทับใจกับแสงที่ส่องมาจากเพดานถ้ำลงมายังพระพุทธรูป น่าจะเป็นภาพที่ชินตาในสื่อต่างๆ แต่ไม่เท่ามาสัมผัสด้วยตัวเอง   หลวงตาที่เฝ้าถ้ำ แนะนำว่า ” แสงจะส่องลงมาตรงพระพุทธรูปพอดีอยู่ในช่วงเวลา 13.15 น.ของทุกวัน (แต่บางข้อมูลก็บอกว่า ช่วง 14.00-14.30 น.) และจะสวยมากในช่วงเดือน เมษายนและเดือนสิงหาคมของทุกปี เมื่อมาถึงที่แล้วก็กราบไหว้ขอพรก่อนจากลา  ออกมาจากถ้ำรู้สึกเหนื่อยเพลียแนะนำนั่งชมสวนพฤษศาสตร์ให้หายเหนื่อยก่อนกลับ

โครงการพัฒนา

การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน
          ขณะนี้ ถ้ำจอมพลตั้งอย่ใู นเขตพื้นที่อนุรักที่ 10 อำเภอบา้ นโปง จังหวัดราชบุรี แต่ขณะนี้ ทางเทศบาลได้ขอเข้ามาจัดการตัวถ้ำ มีการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ภายในตัวถ้ำไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร มีสิ่งปฏิกูลและเศษขยะภายในถ้ำ มีพระสงฆ์ 1 รูป และชาวบ้าน 1 คน ที่เข้ามาปฏิบัติกิจสงฆ์ ขายดอกไม้ ธูปเทียนให้กับผู้มาเยือนที่เข้ามาสักการะพระพุทธรูปในถ้ำ สภาพถ้ำค่อนข้างเป็นที่น่ากังวลทั้งเรื่องความสะอาดและการที่ถ้ำเสียสภาพตามธรรมชาติไปค่อนข้างมาก และหากประเมินจากตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ลดลงตามลำดับ ตั้งแต่ปี2556- 2558 จาก 18,193 , 16,244 และ 9,920 คน ตามลำดับ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดจากความสวยงามและความสะอาด หรือปัจจัยอื่น ๆ เกี่ยวกับถ้ำจอมพลลดลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทางสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 อำเภอบ้านโปง จังหวัดราชบุรี วัด เทศบาล หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ควรที่จะมีการปรึกษาหารือถึงแนวทางการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ถ้ำอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ
          ถ้ำจอมพลมีฝูงลิงอาศัยอย่มู ากจึงควรระวังลิงฉกฉวยอุปกรณ์ต่าง ๆ บางบริเวณของถ้ำไฟฟ้าชำรุดไม่สามารถใช้การได้มานานและไม่มีการปรับปรุง มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจำนวนมากจึงควรปรับปรุงบันไดทางลงถ้ำให้อยู่ในสภาพดี บริเวณปากทางมีกลิ่นขี้ค้างคาวแรงมาก ที่สำคัญปัจจุบันถ้ำจอมพลไม่มีเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษา มีเพียงผู้มาหารายได้ ทำให้ถ้ำจอมพเสื่อมโทรมลงไปมาก อีกทั้งยังเคยเกิดแผ่นดินไหวเมื่อปีพ.ศ. 2528 เกือบทุกส่วนในถ้ำจึงเต็มไปด้วยฝุ่นละออง ยกเว้นด้านในสุดของถ้ำที่มีปล่องแสงและพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ โดยช่วงที่แสงสวยงามที่สุดประมาณ 13:00 - 14:00 น.

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

สิ่งก่อสร้างและการบริการ
          บริเวณพื้นที่รอบตัวถ้ำเป็นสวนรุกขชาติ เป็นที่ร่มรื่นและเป็นสถานที่พักผ่อนของคนทั้งในอำเภอจอมบึงและผู้ที่มาเยือน มีลานจอดรถและห้องน้ำบริการสำหรับผู้มาเยือน
          นอกถ้ำบริเวณที่จอดรถซึ่งอยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของสวนรุกขชาติ ขึ้นอยู่กับ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10อำเภอบ้านโป่ง   จังหวัดราชบุรี ทางเทศบาลได้ขอเข้ามาปรับปรุงพื้นที่ตัวถ้ำจอมพล มีบันไดปูนไปจนถึงหน้าปากถ้ำ ปากถ้ำมีประตูปิดเปิดเป็นเวลา เนื่องจากบริเวณนั้นมีลิงอาศัยอยู่มาก จากหน้าปากประตูถ้ำมีบันไดไม้ลงไปในตัวถ้ำ
          ภายในถ้ำภายในถ้ำ ในช่วงแรกจากปากถํ้ามีบันไดไม้ลงไปถึงโถงถํ้า ภายในโถงถํ้าไม่มีการแบ่งเขตแนวการเดินชมของนักท่องเที่ยว มีไฟส่องสว่างภายในถ้ำที่ไม่เป็นระเบียบ นอกจากนี้ภายในถ้ำ มีพระพุทธรูปต่าง ๆมากมาย และมีพระสงฆ์ มารับศรัทธาจากนักท่องเที่ยว จึงมีการจุดธูปเทียนในถ้ำ และมีการทิ้งชิ้นส่วนต่าง ๆเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ภายในถ้ำ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -