สถานที่ตั้ง

จังหวัด เพชรบุรี อำเภอ อำเภอเมืองเพชรบุรี ตำบล ธงชัย 76000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

           ตั้งอยู่บนเขาหลวง ซึ่งเป็นภูเขาขนาดเล็ก มียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตทางขึ้น-ลง ถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงาม ส้าหรับถ้้าเขาหลวงถือเป็นถ้้าใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี  ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์เป็นสำคัญ

 ถ้ำเขาหลวงแห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จประพาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  ทรงโปรดถ้ำเขาหลวงนี้มาก โดยทรงบูรณะพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณภายในถ้ำ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันได หินลงไปในถ้ำ ภายในถ้ำแบ่งพื้นที่โดยธรรมชาติเป็น 3 ห้อง 

           - ห้องแรก มีพระพุทธบาทจำลอง มีหินที่เกิดจากน้ำหยดลงมาเป็นรูปเหมือนเต่า ห้องนี้หินงอก หินย้อยสวยมาก และหินย้อยบางก้อนถูกคนลักตัดเอาไป  ห้องที่ 2 เดินต่อไปจากห้องแรก เดินสะดวกถึงกันหมดทั้ง 3 ห้อง มีพระพุทธรูปเรียงรายรอบห้อง มีปล่องให้แสงสว่างเข้ามาพื้นถ้ำ นอกจากสวยแล้วยังให้ความสว่าง มีพระพุทธไสยาสน์ และหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ี่นักท่องเที่ยวถ้ำจะมากราบไหว้บูชา  มีพระนาคปรกและที่ฐานพระพุทธรูป   มีตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่1-5 จารึกไว้ด้วย ภายในถ้ำทุกห้องงามด้วยหินงอกหินย้อยและมีอากาศถ่ายเทเย็นสบายไม่อับชื้น

ตำนานความเชื่อ

-

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

 ประวัติกำรศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
           ถ้้าเขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็กมียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อย สีสันสวยงาม ถ้้าเขาหลวงถือเป็นถ้้าใหญ่และส้าคัญที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี ภายในถ้้าประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลากลางวันจะมีแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจากปล่องแสงของเพดาน ถ้้าลงมาสู่พื้นข้างล่าง ซึ่งช่วงเวลาที่จะมีแสงส่องลงมามากที่สุด คือประมาณ 9.30 – 10.30 น. ซึ่งลักษณะของลำแสงจะแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศในแต่ละฤดู
ประวัติเล่าไว้ว่า รัชกาลที่ ๔ เสด็จมาพร้อมโอรส ๒ พระองค์ และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ร่วมกันสร้างพระ และทรงบูรณะ เช่น สร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาบูรณะต่อ แล้วพระราชทานนามว่า วิมานจักรี ปัจจุบันมีพระพุทธรูปในถ้้ารวม ๑๗๐ องค์ มีเจดีย์ในถ้้า ๖ องค์ ภายในถ้้าแบ่งพื้นที่โดยธรรมชาติเป็น ๓ ห้องคือ
            ห้องแรก มีพระพุทธบาทจ้าลอง มีหินที่เกิดจากน้้าหยดลงมาเป็นรูปเหมือนเต่า ห้องนี้หินงอก หินย้อยสวยมา และหินย้อยบางก้อนถูกคนลักตัดเอาไป
            ห้องที่ ๒ เดินต่อไปจากห้องแรก เดินสะดวกถึงกันหมดทั้ง ๓ ห้อง มีพระพุทธรูปเรียงรายรอบห้อง มีปล่องให้แสงสว่างเข้ามาพื้นถ้้า นอกจากสวยแล้วยังให้ความสว่าง มีพระพุทธไสยาสน์ หลวงพ่อโต ซึ่งเป็น
รายงานขั้นกลาง : โครงการการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทถ้ำ  มีตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ ๑ - ๕ จารึกไว้ด้วย
            ภายในถ้้าทุกห้องมีหินงอกหินย้อย และมีอากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น ถ้้าเขาหลวงมีชาวไทย ชาวต่างประเทศ ลงมาเที่ยวกันนานนับร้อยปีแล้ว มีบันทึกของชาวยุโรปและภาพปรากฏในงานพิมพ์ของอังรี มูโอ นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายังไทย ลาว กัมพูชา แล้วกลับไปตีพิมพ์ไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๗ ถ้้าเขาหลวงนี้สุนทรภู่ได้เคยมาเที่ยวและเล่าไว้ในนิราศเมืองเพชร

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

           ลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นภูเขาหินปูน มีซากดึกด้าบรรพ์ฟูซูลินิด แบรคชิโอพอต อายุ เพอร์เมียนช่วงกลาง หรือประมาณ (253 ล้านปี) มีหินดินดานและหินทรายแทรกสลับบ้าง ลักษณะของถ้้าเป็นถ้้าในหินปูน ปากถ้้าอยู่บริเวณยอดเขา มีระยะทางจากเชิงเขาประมาณ 150 เมตร ทางเดินค่อย ๆ ลาดค่อนขึ้น ปากทางเข้าถ้้ากว้างประมาณ 15 เมตร มีทางเดินลงไปมีบันไดลึกประมาณ 30 เมตร พบลักษณะการสะสมตัวของตะกอนถ้้าอยู่บ้าง มีโพรงอากาศขนาดใหญ่บริเวณกลางถ้้าซึ่งมีแสงส่องลงมากระทบศาสนสถานบริเวณในถ้้าท้าให้เกิดความสวยงามและโดดเด่น 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

สิ่งมีชีวิต
           พืชพรรณที่ขึ้นปกคลุมบริเวณเขาหลวง เป็นป่าผลัดใบ

การสำรวจพรรณพืช

           จากการศึกษาสังคมพืชบริเวณปากถ้ำเขาหลวงโดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 10x10 เมตร จำนวน3 แปลง ที่ระดับความสูงประมาณ 44 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่มีความลาดชัน 30 องศา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน และมีพันธุ์ไม้ที่มีเรือนยอดปกคลุมไม่หนาแน่น พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ในแปลงสำรวจ คือ ต้นลีลาวดี ที่มีการเติบโตอยู่ตามร่องหิน ไม้พื้นล่างส่วนใหญ่มีหนาม ซึ่งอาจเป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ไม้ต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงตั้งแต่ 15เซนติเมตร ขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้น 38 ต้น สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 5 ชนิด และไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ 1ชนิด

ประเภทการใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ที่ดิน
           พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อการตั้งถิ่นฐานและการทำการเกษตรมากกว่าร้อยละ 90 เหลือพื้นที่ป่าปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 4 บริเวณถ้ำเขาหลวงตั้งอยู่บนเขาโดด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ บนภูเขาไม่มีความเสี่ยงในการลุกล้ำการใช้ประโยชน์ที่ดิน แต่หากต้องมีการติดตามความสามารถเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ที่ขึ้นบนเขาหลวงซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลยี่ นแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องอัตราการเติบโตทดแทน

โครงการพัฒนา

การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน
           ปัจจุบันวัดเขาหลวงทำหน้าที่บริหารจัดการภายในตัวถ้ำ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม ภายในถ้ำมีการให้เช่าวัตถุมงคล ดอกไม้ ธูปเทียน สำหรับ

อบต. มีการจัดการบริเวณสถานที่จอดรถ โดยให้รถผู้มาเยือนจอดอยู่ด้านล่างและจัดรถสองแถวบริการ ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการวางแผนบริหารจัดการถ้ำเข้าหลวงให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้

ข้อเสนอแนะ
          ถ้ำเขาหลวงเป็นถ้ำที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ควรมีการทำป้ายบรรยายตามจุดสำคัญต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างอารมณ์ร่วมต่อผู้ที่มาเยี่ยมชม เนื่องจากถ้ำเขาหลวงเป็นถ้ำที่มีความสำคัญ มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ คงน่าเสียดายหากผู้ที่มาเยี่ยมชมเดินผ่านไปโดยไม่ทราบนอกจากน้นั การดัดแปลงถ้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยว หินงอกหินย้อยตามธรรมชาติจึงถูกตัดออกไปจนเกือบหมดอย่างไรก็ตาม การเยี่ยมชมถ้ำเขาหลวงที่สวยงามที่สุด คือ ช่วงเวลาประมาณ 9.30 - 10.30 น.เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่แสงลอดผ่านเพดานถ้ำลงมามากที่สุด ที่สำคัญควรระวังลิงฉกฉวยอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

สิ่งก่อสร้างและการบริการ
           บริเวณพื้นที่ทางขึ้นถ้ำเขาหลวง มีถนนเทคอนกรีต จนถึงบริเวณบันไดปูน ประมาณ 99 ขั้น ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถนำรถขึ้นมาจอดได้ถึงบริเวณบันไดปูน ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้ให้รถนักท่องเที่ยว จอดที่ด้านล่างและมีรถสองแถว รับส่งจนถึงบริเวณบันไดปูนที่จะเดินต่อไปจนถึงบริเวณปากถ้ำเนื่องจากพื้นที่โดยรอบถูกดัดแปลงเป็นพื้นปูนเกือบทั้งหมดทำให้ ในช่วงฤดูร้อนจะมีความร้อนทั้งจากบริเวณพื้นที่โดยรอบค่อนข้างสูง และจากตามธรรมชาติ และการที่พื้นปูนที่เป็นสีขาว สะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ และประกอบกับสภาพป่าไม้ที่ขึ้นบนเขาหลวงเป็นป่าผลัดใบ เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มผลกระทบด้านความร้อนถึงตัวถ้ำและบรรยากาศอาจขาดความร่มรื่นสำหรับความดึงดูดที่จะให้นักท่องเที่ยวมาเยือน

          - ป้ายสื่อสารความหมาย  

          - มัคคุเทศก์ประจำแหล่งให้ความรู้

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -