สถานที่ตั้ง

จังหวัด กระบี่ อำเภอ อำเภอเมืองกระบี่ ตำบล อ่าวนาง 81000

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำ

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

 

ถ้ำพระนางใน

- ถ้ำพระนางใน หรือถ้ำเพชร (ไม่ค่อยมีคนรู้จัก) ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ที่อ่าวพระนาง ในบริเวณอ่าวเต็มไปด้วยเกาะแก่งมีทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาอยู่ในความดูแลของศูนย์บริการข่าวสารไร่เลย์  ส่วนมากจะรู้จักกันแต่ถ้ำพระนางที่อยู่ริมทะเล เป็นอีกหนึ่งถ้ำที่อยู่บริเวณตอนเหนือของหาดไร่เลย์ตะวันออก ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย ที่สลับซับซ้อน ทั้งตามทางเดินและโถงใหญ่ มีการจัดแสงเพื่อให้สวยงามมากยิ่งขึ้น ถ้ำพระนางในเข้าไปเที่ยวได้ง่ายๆ เพราะ อุทยานฯได้สร้างทางเดินเป็นสะพานไม้ไม่ต้องปีน ภายในถ้ำมีความลึก 130 เมตร และเป็นที่อยู่ของนกและค้างคาวหลายชนิด    ภายในถ้ำเป็นถ้ำหินปูน มีความสวยงามจากหินงอกหินย้อย และม่านหินปูนเป็นชั้นๆ มีช่องชั้นของหินที่ถูกกัดเซาะจากหยดน้ำภายในหุบเขาจนเกิดตะกอนหินปูนและแอ่งหิน ที่มาของชื่อถ้ำเพชรมาจากหินงอกหินย้อยเมื่อกระทบกับแสงไฟฉายจะสะท้อนแสงเป็นประกายคล้ายกับเพชร

ตำนานความเชื่อ

- ตำนานแรกเล่าว่า อดีตนานมาแล้วมีเรือของพระราช และพระนาง พร้อมเจ้าหญิง จากอินเดีย ล่มอยู่หเงจากบริเวณปากอ่าวออกไป ชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณของพระนางได้มาสิงสถิตในถ้ำ เพราะบริเวณชายหาดของอ่าวถ้ำพระนางนั้นในคืนเดือนมืดจะเกิดพรายน้ำปรากฏขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ชาวประมงขอพรเสมอก่อนออกเรือ และมักจะพับกับเรื่องดี ลับมาทุกครั้ง จึงนำดอกไม้ธูปเทียนอาหารมาถวาย นานเข้าก็มีความเชื่อว่าควรถวายปลัดขิก เพราะเป็นพระนาง

- ตำนานเล่าว่า โบราณกาลนานมามีครอบครัวของตายม ไปบนบานขอลูกจากพญานาค พญานาคตกลง แต่มีข้อแม้ว่าหากเกิดเป็นลูกสาว ต้องให้แต่งงานกับลูกชายของตน กาลต่อมาตายมได้ลูกสาวชื่อว่า “นาง” แต่แทนที่จะแต่งงานกับลูกพญนาค “สาวนาง” กลับไปชอบกับ “บุญ” ลูกชาวบ้าน และตกลงแต่งงานกัน พญานาคทราบข่าวก็เป็นเรื่อง โกรธมาก แค้นมาก ในวันแต่งงานพญานาคจึงสาปให้ทุกอย่างกลายเป็นหิน เรือนหอ กลายเป็น ถ้ำพระนาง, ข้าวเหนียวกวน กลายเป็น สุสานหอย, ข้าวของเครื่องใช้ กลายเป็น เกาะหม้อ ส่วนพญานาค กลายเป็น เขาหางนาค

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

เป็นถ้ำหินปูน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ถ้ำพระนางใน (Phra Nang Nai Cave) เป็นถ้ำ มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ที่มีทางเดินเข้าไปชมความงามของหินงอกหินย้อยและม่านหินปูนภายในถ้ำ ภายในถ้ำมีความลึก 130 เมตร และเป็นที่อยู่ของนกและค้างคาวหลายชนิด และเป็นถ้ำที่เกิดจากโครงสร้างทางธรรมชาติที่ดี สวยงามและหายาก มีความสำคัญเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวบ้าน  

ประเภทการใช้ประโยชน์

เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ชมหินงอกหินย้อย

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

เป็นถ้ำที่มีเอกลักษณ์  เกิดจากภูเขาหินปูน บริเวณหน้าถ้ำจะเป็นชายหาดสีขาวละเอียด เป็นสถานที่

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

การเข้าถึงมีถนนทางหลวงหมายเลข 4 (พังงา-กระบี่) เลี้ยซ้ายเข้าถนนหมายเลข 4034 ต่อจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 4204 อีก 12 กี่โลเมตร ถึงอ่าวนางนั่งเรือจากอ่าวนางประมาณ 15 นาทีถึงทางขึ้นก็จะเห็นถ้ำพระนาง

 

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -